ยลเทียนพรรษา ปี 2564 ประเภทเทียนโบราณ วัดใต้ท่า
ต้นเทียนวัดใต้ท่า เป็นต้นเทียนประเภทเทียนโบราณ
ขนาดต้นเทียน มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 40 ชม. โดยประมาณ ความสูงจากพื้น 4.5 เมตร ความกว้างของรถที่ทำเทียนโบราณ มีความกว้าง 4.5 เมตร ยาว 6.00 เมตร
รายละเอียดมี 5 องค์ประกอบ
- ส่วนหน้ารถเป็นป้ายชื่อคุ้มวัด
- ส่วนตัวป้ายทำด้วยเสื่อนำมาตัดเป็น ลวดลายไทย
- ส่วนหลังป้ายจะเป็นพญานาค 5 เศียร ทำจากเสื่อ นำมาตัดเป็นลวดลายกนก
- ส่วนตัวเกล็ดพญานาค ทำจาก เช็อกกล้วย, สนฉัตร, และตัวรังไหม
- ส่วนท้องห่อด้วยเตยลาย
- ส่วนกลางจะเป็นลำต้นเทียน ซึ่งทำตามแบบโบราณโดยการมัดเทียนรวมกันขึ้นเป็นลำต้น ชุมชนวัดใต้ท่า เลือกเป็นเทียนสีหลือง เพื่อจัดทำในครั้งนี้
- ส่วนหลังต้นเทียนจะเป็นต้นบายศรี 5 ชั้น ทำจากใบตองสด นำมาเย็บขึ้นเป็นตัวบายศรีแบบอีสาน
- ส่วนข้างรถ จะเป็นส่วนของพญานาคสะดุ้ง ทำจากใบตองสด และมีส่วนของดอกไม้ประดับทำจากกลีบบัวนำมาจุ่มเทียนแล้วนำมาประกอบ เป็นดอกบัวมาประดับตกแต่งตามจุดต่างๆ ของรถเทียนให้ดูสวยงาม และมีพานกระย่องตกแต่งในส่วนท้ายและข้างหน้า จะมีเทวดายืนประกบ ซ้าย-ขวา
โดยใช้บุคลากรทำทั้งหมด มีรายชื่อดังนี้
นายไพโรน์ เอี่ยมชโลทร / นายอนุสรณ์ โพธิ์ทอง พร้อมคณะ โดยมีพระครูปลัด จิรายุส เลบา จ.อ.วารินชำราบ เป็นที่ปรึกษา