guideubon

 

ผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดกลาง 2567

ชนะเลิศ-ต้นเทียนอุบล-เขมราฐ.jpg

จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้กำหนดจัดประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 "เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง" ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง

การประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2567 ประเภทแกะสลัก ขนาดกลาง ส่งเข้าประกวดรวม 11 ต้น ได้แก่

1. อำเภอเขื่องใน
2. อำเภอเขมราฐ
3. อำเภอนาจะหลวย
4. วัดกลาง
5. วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
6. วัดสุทัศนาราม
7. วัดปทุมมาลัย
8. วัดศรีแสงทอง
9. วัดกุดคูณ
10. อำเภอนาเยีย
11. เทศบาลตำลบลเทพวงศา ร่วมกับวัดอูบมุง

ผลการประกวด

ต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดกลาง มีดังนี้

ต้นเทียนอุบล67-เขมราฐ.jpg
รางวัลชนะเลิศ

ได้แก่ อำเภอเขมราฐ
นายพุทธิศักดิ์ ภาดี เป็นหัวหน้าช่างเทียน

ส่วนหน้า แกะสลักเป็นรูปนางมณีเมชลาเหาะอุ้มพระมหาชนก 
ส่วนข้าง เป็นเทวดา 2 องค์ อันเชิญสันดุสิตเทพบุตร ให้เสด็จลงมาจุติยังโลกมนุษย์ซึ่งก็คือ "เจ้าชายสิทธัตถะ"
ส่วนหลัง เป็นรูปหงส์เขมราฐ ซึ่งเป็นสัตว์หิมพานต์ มีหัวเป็นสิ่งห์ 3 คน รองรับลำต้นเทียน

ต้นเทียนอุบล67-นาจะหลวย.jpg
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

ได้แก่ อำเภอนาจะหลวย
นายสุดสาคร หวังดี เป็นหัวหน้าช่างเทียน

ด้านหน้า แกะสลักเป็นรูปพระเนมิราช ตอนท่องนรกสวรรค์
ด้านหลัง แกะสลักเป็นพระเนมิราช ตอนเล่าเรื่องราวที่พระองค์ไปทอดพระเนตรนรกและสวรรค์ มาเล่าให้มนุษย์ฟังเพื่อให้รู้ถึงผลของการทำบุญและทำบาปมีจริง
ด้านข้าง ซ้าย-ขวา ประกอบด้วยพญานาคข้างละ 1 ตัว

ต้นเทียนอุบล67-วัดอูบมุง.jpg
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

ได้แก่ เทศบาลตำบลเทพวงศา ร่วมกับวัดอูบมุง
นายประเสริฐ  จำปาวัลย์ เป็นหัวหน้าช่าง

ค้านหน้า เป็นองค์พญาลิงชูดอกบัว ตามเรื่องราวในพุทธประวัติตอนหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงออกไปประทับอยู่ ณ ป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ โดยมีพญาช้างปาลิโลยกะคอยปรนนิบัติ เมื่อลิงเห็นเข้าก็นำรวงผึ้งไปถวาย แต่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าไม่รับเพราะว่าในรวงผึ้งมีตัวอ่อนอยู่ เมื่อลิงรู้ดังนั้นก็ดึงตัวอ่อนออกจากรวงผึ้งแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าอีกครั้ง พระพุทธเจ้ารับรวงผึ้งที่ลิงนำมาถวายไว้ โดยปางนี้ เรียกว่า ปางป่าเลไลยก์
ถัดมาเป็นพุทธประวัติตอนที่ พระพุทธเจ้าเสด็จอกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงม้ากัณฐกะมุ่งหน้าสู่แม่น้ำอโมาน ทีที่แคว้นมัลละ โดยมี นายฉันนะติดตามการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์หมายถึงการออกบวชของพระพุทธเจ้าจะมีเหล่าเทวดาเหาะตามเสด็จ
ช่วงกลาง ด้านหน้าของต้นเทียนมีองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับนั่งปางสมาธิ และถัดจากต้นเทียนพรรษาเป็นพระพรหมทรงหงส์เสด็จตามเจ้าชายสิทธัตถะเช่นกัน
ส่วนท้าย ของเทียนจะเป็นนาค 7 เศียร และมีอสูรวายุภักษ์อยู่ในท่าวางอำนาจอย่างหน้าเกรงขาม

ต้นเทียนอุบล67-นาเยีย.jpg
รางวัลชมเชย

ได้แก่ อำเภอนาเยีย
นายรัฐพล  บรรเทา เป็นหัวหน้าช่างเทียน

ส่วนหน้า แกะสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เป็นเทพผู้มากอิทธิฤทธิ์ ด้วยว่าดูแลสรวงสวรรค์มวลมนุษย์ ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ทั้งยังมีความเชื่อศรัทธากันว่า...ยามเกิดเหตุเภทภัยก็มักจะเนรมิตกายเป็นสิ่งต่างๆ ลงมาช่วยเหลือ ส่วนล่างของคอช้าง แกะสลักเป็นรูปนางกินรีทรงเหมราช และมีพญาสุบรรณ" หรือคนส่วนใหญ่รู้จักกันในนาม "พญาครุฑ" เป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธา และอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เป็นตัวแทนแห่งคุณงามความดี ความชื่อสัตย์ กตัญญู ทรงพลังอำนาจ และเชื่อกันว่าจะนำพาโชคลากและพรัพย์สมบัติมาสู่ผู้ที่มีที่มีจิตศรัทธาอย่างแท้จริง
ด้านข้าง แกะสลักเป็นรูปนางเมขลาทรงเต่า นางเมขลา เป็นเทพธิดาที่มีผิวกายสีดอกอัญชัน และมีดวงแก้วที่ยกระดับเหนือกว่าเทพธิดาทั่วไป ทำหน้าที่ดูแลพระมหาสมุทร นางเมขลามีนิสัยทีไม่เกรงกลัวผู้ใด ชอบไปร่ายรำและท่องเที่ยวกับเหล่าเทวดานางฟ้า ต่อด้วยแกะสลักรูปเทวดาเชิญธง มีพญานาคบริวารครุฑ
ส่วนหลัง แกะสลักเรื่องราวพุทธประวัติตอนพญามุจลินท์ถวายอัญชุลี กล่าวถึงเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข (การพบสุขที่เกิดเพราะความหลุดพ้นจากกิเลส) ที่สระมุจลินท์ ใต้ร่มไม้จิกที่มีชื่อว่า มุจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้) ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ เกิดฝนตกพรำไม่ขาดสายตลอด 7 วัน พญานาคมุจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากดินแดนนาค ทำขนดล้อมพระวรกายพระพุทธเจ้า 7 ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความประสงค์ไม่ให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย เมื่อฝนหายแล้ว พญามจลินท์นาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายพระพุทธเจ้า จำแลงเป็นชายหนุ่ม ยืนถวายนมัสการพระพุทธองค์ที่หน้าพระพักตร์

ต้นเทียนอุบล67-วัดปทุมมาลัย.jpg
รางวัลชมเชย

ได้แก่ วัดปทุมมาลัย
นายทัศนัย สินธ์งาม เป็นหัวหน้าช่าง

ส่วนหน้า เป็นเรื่องราวตอนพระพุทธเจ้าออกบวช
ส่วนหลัง แกะสลักเป็นพระพุทธเจ้า ปางชนะมาร

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511