ผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดเล็ก 2567
จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้กำหนดจัดประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 "เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง" ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง
การประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2567 ประเภทแกะสลัก ขนาดเล็ก ส่งเข้าประกวดรวม 7 ต้น ได้แก่
1. อำเภอสำโรง
2. อำเภอน้ำยืน
3. อำเภอโพธิ์ไทร
4. อำเภอนาตาล
5. อำเภอน้ำขุ่น
6. วัดแสนสุข
7. อำเภอโขงเจียม
ผลการประกวด
ต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดเล็ก มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ได้แก่ อำเภอนาตาล
นายณัฐพล พงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนด้านหน้า ประกอบด้วย ครุฑยุดนาคหรือครุฑจับนาค พญานาค 6 เศียร ล้อมรอบซุ้มพระ โดยมีพระประดิษฐานอยู่ทั้งสองฝั่ง คือ ศรีอริยะเมตไตรย ประดิษฐานอยู่ฝั่งหนึ่ง และอีกฝังเป็น พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาตาตาล
ส่วนกลางของต้นเทียน ประกอบด้วย ฐานเป็นพญาครุฑเชิญธงมีพญาหงส์เหลียวหลังเป็นฐาน
ส่วนด้านหลัง ประกอบด้วย พญามุจลินท์ทรงถวายมุทิตาจิตแด่พระพุทธเจ้าเมื่อหลังจากแผ่พังพานเพื่อปกป้องพรพุทธเจ้าจากลมฝนครบ 7 วัน
ถัดไปด้านหลังสุด ประกอบด้วย ซุ้มบัวสี่เหล่า โดยมีความหมายว่าธรรมของพระพุทธเจ้า ใช่ว่าใครฟังก็จะตรัสรู้ได้
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ได้แก่ อำเภอโขงโขงเจียม
นายสุวัฒน์ สุทธิประภา เป็นหัวหน้าช่าง
ส่วนหน้าของต้นเทียน แกะสลักเป็นภาพนางมณีเมขลา อุ้มพระมหาชนก เรือสำเภา ปลาอานนท์ และภาพพระมหาชนกแหวกว่ายอยู่กลางมหาสมุทร
ส่วนหลัง แกะสลักเป็นภาพพระมหาชนกเสวยสุขอยู่ในพระราชสมบัติ ได้รับพระมารดา และพราหมณ์พิศาปราโมกข์ จากเมืองกาลจัมปากะมาอยู่ด้วยที่เมืองมิถิสา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้แก่ อำเภอน้ำยืน
นายอนุพงษ์ วงษาบุตร เป็นหัวหน้าช่าง
ด้านหน้า เป็นตอนพระนางผุสดีรับพร 10 ประการจากพระอินทร์ ก่อนที่จะลงมาเกิดในโลกมนุษย์
ด้านหลัง เป็นตอนพระเวสสันดรทรงได้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก ชูชกเดินทางมาเขาวงกตเพื่อขอ 2 กุมาร หลังจากที่ชูชกได้กล่าวขอ 2 กุมาร คือ กัณหาและชาลีจากพระเวรสันดรแล้ว ทั้งกัณหาและชาลีต่างก็หนีไปหลบอยู่ในสระบัว จนพระเวสสันดรต้องตามไปเกลี้ยกล่อม พรรณนาคุณของทานบารมีจนสองกุมารใจอ่อน
ด้านข้าง เป็น 2 กุมาร คือกัณหาและชาลี ได้ไปหลบอยู่ในสระบัวหลังจากที่รู้ว่าพระเวสสันตรผู้เป็นพ่อจะให้ตัวเองและน้องไปอยู่กับซูซก
ส่วนลายลำต้น แกะเป็นตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้
รางวัลชมเชย
ได้แก่ อำเภอน้ำขุ่น
นายมงคล สุทธัง เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนหน้าต้นเทียน เป็นตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จอออกผนวช โดยมีม้ากัณฐกะและนายฉันนะเป็นผู้ติดตาม เหล่าเทวดาส่งเสด็จ ต่อมาทรงตัดพระโมลีถือเพศบรรพชา ณ ฝั่งน้ำอโนมา
ส่วนกลางต้นเทียน แกะสลักลำต้นเทียน ตอนประสูติ โดยมีพระพุทธเจ้าสุทโธทนะ และพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสด์ ตอนประสูติพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงพระดำเนินได้เจ็ดก้าว โดยมีดอกบัวรองรับ
ส่วนท้ายต้นเทียน เป็นตอนตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา วันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 6 มีพระชนมายุ 35 พรรษา และมีพระนามใหม่ว่า พระพุทธเจ้า และอีกเป็นตอนเสด็จดับขันธ์ ปรินิพพานใต้ต้นสาละ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 6 พระชันมายุ 80 พรรษา และมีธัมจักรกัปปวัตนสูตรธรรมเพื่อบรรลุอริยสัจ 4 คือ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
รางวัลชมเชย
ได้แก่ อำเภอโพธิ์ไทร
นายทรงพล สำราญสุข เป็นหัวหน้าช่าง
ส่วนหน้าต้นเทียน ด้านบน แกะสลักเป็นครุฑยุดนาค หรือ ครุฑจับนาค
ด้านล่าง แกะสลักเป็น "พญานาคราช" เป็นตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อในบารมีและพลังอำนาจที่มี และยังถือเป็นเจ้าแห่งโลกบาดาลที่สามารถบันดาลทรัพย์ในดินสินในน้ำโชค ลาภเงินทอง และความอุดมสมบูรณ์
ด้านข้างต้นเทียน ทั้ง 2 ข้าง แกะสลักเป็น "พญานาคคาบกินลำตัว หรือ มกรคายนาค"
ด้านหลังต้นเทียน แกะสลักเป็นปางพระพุทธเจ้าทรงโปรดท้าวพกามหาพรหม หรือท้าวพกาพรหม หรือท้าวมหาพรหม สถิตอยู่บนพรหมโลกชั้นที่ 3