Warning: getimagesize(/home/guideubo/public_html/2.0/files/8417/2163/0728/--.jpg): failed to open stream: No such file or directory in /home/guideubo/public_html/2.0/packages/open_graph_tags_lite/helpers/open_graph_tags_lite.php on line 71

Warning: Cannot modify header information - headers already sent by (output started at /home/guideubo/public_html/2.0/packages/open_graph_tags_lite/helpers/open_graph_tags_lite.php:71) in /home/guideubo/public_html/2.0/updates/concrete5.6.3.5_remote_updater/concrete/core/libraries/view.php on line 963
Guide Ubon ผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ 2567
guideubon

 

 

ผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ 2567

ชนะเลิศ-ต้นเทียนอุบล-วัดศรีประดู่.jpg

จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้กำหนดจัดประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 "เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง" ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง

การประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2567 ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ ส่งเข้าประกวดรวม 5 ต้น ได้แก่

1. วัดบูรพา
2. วัดพลแพน
3. วัดแจ้ง
4. วัดศรีประดู่
5. วัดใต้ท่า

ผลการประกวด

ต้นเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ มีดังนี้

ต้นเทียนอุบล67-วัดศรีประดู่.jpg
รางวัลชนะเลิศ

ได้แก่ วัดศรีประดู่
นายสมคิด  สอนอาจ เป็นหัวหน้าช่างเทียน

ส่วนลำต้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฑกะ ออกบวชตามด้วยนายฉันนะ เหล่าเทพเทวาแสดงความยินดี
ส่วนหลัง เป็นภาพพุทธประวัติ ปางอัญเชิญ ประกอบด้วยเหล่ารุกขเทวดา

ต้นเทียนอุบล67-วัดแจ้ง.jpg
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

ได้แก่ วัดแจ้ง
พระอธิการวีระศักดิ์ อาภสุสโร เป็นหัวหน้าช่างเทียน

ลำต้น จัดทำเป็นพระสุวรรณสาม และมีบรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ไว้วางใจ เพราะพระสุวรรณสาม มีจิตใจเมตตา ไม่เคยทำอันตรายต่อฝูงสัตว์ พระสุวรรรณสามจึงมีเพื่อนถัดมาเป็นยักษ์ซึ่งเป็นพระราชาแห่งเมืองพาราณสี มีนามว่า "กบิลยักขราช" ออกมาเทียวล่าสัตว์จนมาถึงท่าน้ำที่พระสุวรรณสามมาตักน้ำไปให้พ่อแม่ กบิลยักขราชเห็นพระสุวรรณสามก็แปลกใจว่า พระสุวรรรณสามเป็นมนุษย์หรือเทวดาเหตุใดจึงเดินมากับฝูงสัตว์ จึงคิดจะยิงธนูใส่จะได้จับตัวเพื่อชักถาม
ส่วนหลัง ได้จัดทำเป็นดาบสและดาบสสินี ซึ่งเป็นพ่อและแม่ของสุวรรณสาม ที่อาศัยอยู่ศาลาในป่า (คณะช่างได้ออกแบบศาลาเป็นหลังคาทรงมุขประเจิด) ซึ่งทั้งสองไม่สามารถมีบุตรได้ต่อมาหนึ่งพระอินทร์เล็งเห็นอันตรายซึ่งจะบังเกิดแก่ ทุกุลดาบสและปาริกาดาบสสินี จึงได้ปบุตรแก่ทั้งสองเพื่อเป็นผู้ช่วยเหลือ ปรนนิบัติในยามยากลำบาก เหตุที่ทำให้ดาบสและดาบสสินีตาบเกิดจากทั้งสองได้ออกไปหาผลไม้แล้วถูกงูพิษพ่นพิษใส่ดวงตาทำให้ตาบอดสนิท

ต้นเทียนอุบล67-วัดใต้ท่า.jpg
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (คะแนนเท่ากัน)

ได้แก่ วัดใต้ท่า
นายธีรพงษ์ เก็บเงิน ไวยาวัจกร และหัวหน้าช่าง

ฉากหน้า ทำเป็นพุทธประวัติ ตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช ทรงม้ากันทกะ มีนายฉันะตามเสด็จออกจากกรุงกบินพัฒน์เพื่อทรงบรรพชา ถัดมา จัดทำเป็น (ด้านขวา) เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าพระโมลีไม่สำคัญแก่เพศบรรพชิต จึงตัดออกด้วยพระองค์เอง (ด้านซ้าย) เสร็จแล้วทรงเปลือง พระภูษาทรงออกแล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่ฆฏิการ พร้อมเครื่องบริขารอย่างอื่นของนักบวชแล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวชที่ริมแม่น้ำอโนมานที่นั่นเอง
ฐานรองรับต้นเทียน จัดทำเป็นพระเนมิราช ทรงเป็นที่รักของทั้งมนุษย์และเทวดาโดยเฉพาะเทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างก็ปรารถนาจะได้ฟังธรรมจากพระพระเจ้า เนมิราช ท้าวสะกะ(พระอินทร์) จึงส่งมาตลีสารถีของพระองค์น้ำเทวรถ มาอัญเชิญพระเจ้าเนมิราช เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงแสดงธรรม ณ สุธรรมาเทวา 
ฉากหลัง จัดทำเป็นตอนพระนางผุสดีขอพรทิพย์ 10 ประการ จากพระอินทร์ ก่อนจะลงมาจุติใน มนุษย์โลก 

ต้นเทียนอุบล67-วัดบูรพา.jpg
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (คะแนนเท่ากัน)

ได้แก่ วัดบูรพา
นายสุคม  เชาวฤทธิ์ เป็นหัวหน้าช่าง

ส่วนหน้า ทางคุ้มวัดบูรพา ได้จัดทำเป็นพระอินทร์ทรงช้างสามเศียร เป็นพาหนะนำขบวนเทียนของชาวคุ้มวัดบูรพา และมีหงส์เหมราช นางกินรี กินนร อยู่ในขบวนเทียนของชาวคุ้มวัดบูรพา
ส่วนหลัง เป็นเรื่องของนางกากี มเหสีพระเจ้าพรหมทัต กับพญาครุฑและวิยาธร และมีและท่านย่าศรีปทุมมา

ต้นเทียนอุบล67-วัดพลแพน.jpg
รางวัลชมเชย

ได้แก่ วัดพลแพน
นายวัชระ  จันทร์ส่อง เป็นหัวหน้าช่างเทียน

ส่วนหน้า หรือ ฉากหน้า ทำเป็นพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่า ครุฑ เป็นเจ้าแห่งนกทั้งมวลและ เป็นพาหนะของพระนารายณ์ อาศัยอยู่ในวิมานฉิมพลี โดยมี พญาสุบรรณ พญาเวชไชยยันต์ พระญาเวตไตย ล้อมรอบพญาครุฑ ต่อมาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระสุวรรณสามชาดก เป็นเรื่องราวที่พระโพธิสัตว์ เสวยประชาติเป็นพรามณ์ ชื่อ สุวรรณสาม เป็นชีวประวัติเรื่องหนึ่งในทศชาติชากดก 
ฉากหลัง เป็นฉากเล่าพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ชาติที่ 10 พระเวสสันดร ทานบารมี ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ถือเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเป็นชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 ประการ 

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511