ผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประเภทเทียนโบราณ ขนาดใหญ่ 2567
จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้กำหนดจัดประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 "เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง" ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง
การประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2567 ประเภทเทียนโบราณแบบดั้งเดิม (เทียนฟั่นหรือนำมามัดรวมกัน) ขนาดใหญ่ ส่งเข้าประกวดรวม 6 ต้น ได้แก่
1. อำเภอสิรินธร
2. อำเภอบุณฑริก
3. อำเภอตาลสุม
4. อำเภอสว่างวีระวงศ์
5. อำเภอทุ่งศรีอุดม
6. วัดศรีประดู่
ผลการประกวด
ต้นเทียนพรรษา ประเภทเทียนโบราณแบบดั้งเดิม (เทียนฟั่นหรือนำมามัดรวมกัน) ขนาดใหญ่ มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ได้แก่ อำเภอสว่างวีระวงศ์
นายสุริยัน รมหิรัญ เป็นหัวหน้าช่าง
ส่วนหน้า พระแม่ธรณีบีบมวยผม เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร เพื่ออนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น มีท้าววสวัตตีมาร พร้อมเหล่าบริวารทั้งหลาย ออกอุบายให้พระพุทธเจ้านั้นเกิดกิเสสตัณหา อ้างว่าที่ตรงนั้นเป็นของตน โดยมีมารบริวารเป็นพยาน พระพุทธเจ้าหาได้สั่นคลอนไม่ ครั้นชี้นิ้วลงที่พื้นดินแล้วเปล่งวาจาว่าว่า "ธรณี" จากนั้นพระแม่ธรณีก็ได้มาเป็นสักขีพยาน พร้อมทั้งบีบมวยผม มีน้ำออกมามากมาย กลายเป็นกระแสคลื่นชัดเหล่ามารนั้นให้พ่ายแพ้ไป ซึ่งน้ำมหาศาลเหล่านั้น กล่าวว่าเป็นน้ำที่พระพุทธองค์เคยกรวดสั่งสมมาตลอดชาติกำเนิดที่ผ่านมา
ส่วนหลัง จัดทำเป็นปางไสยาสน์ หรือปางสีหไสยาสน์ เป็นลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถบรรทมทรงมีพระเกษมสำราญ ทั้งนี้ประกอบไปด้วยเหล่าเทวดาที่มาปรนนิบัติพัดวี ด้านข้างรถประดับตกแต่งด้วยเหล่าสัตว์หิมพานต์ เช่น นาค ไก่ฟ้า วารี กุญชร เป็นต้น และดอกไม้ ต้นไม้ ด้วยเทคนิคงานคหกรรมไทยอย่างวิจิตรงดงาม อ่อนซ้อย ตามความเหมาะสม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ได้แก่ อำเภอบุณทริก
นายปรีชาพล พรหมวงศ์ เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ต้นเทียนตั้งอยู่ภายใต้ต้นบุษบกสูง 3 เมตร ประดับตกแต่งด้วยงานหยวก และเครื่องจักรสานจากไม้ไผ่ ในส่วนขององค์ประกอบรอบข้างต้นเทียน เป็นเนื้อหาของพระพุทธศาสนาโดยยึดใจความสำคัญในบันทึกพระไตรปิฎกว่า เมื่อครั้งเสด็จจำพรรษาที่ชั้นดาวดึงส์ และได้แสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ครั้งเมื่อพระพุธองค์เสด็จกลับจากจำพรรษาที่ชั้นดึงส์ ลงมาที่เมืองสังกัสสะนครผ่านบันไดแก้ว และได้มีเหล่าเทวดานางฟ้า ตามเสด็จลงมาส่งพระองค์ที่ประตูเมืองสังกัสสะนคร การตกแต่งองค์ประกอบที่สอดล้อง เรื่องราวพุทธประวัติทีมช่างได้ใช้วัสดุจากธรรมชาติในการตกแต่งประดิษฐ์เป็นองค์พระเหล่าเทวดาและสัตว์นิพพานทั้งหลาย ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยความประณีตงดงาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฝีมือของเหล่าทีมช่างของเมืองอุบลราชานี ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ประดิษฐ์ตกแต่งลวดลายต่างๆ ด้วยฝีมือที่ประณีต เพื่อถวายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบสานประเพณีจังหวัดอุบลราชธานีให้คงอยู่ตลอดไป
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้แก่ อำเภอทุ่งศรีอุดม
นางแจ่มใส กัลยาพงศ์ เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนหน้า เป็นเรื่องราวระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุข ในสัปดาดที่ที่ 5 หลังการตรัสรู้ เกิดฝนฟ้าคะนองรุนแรงเป็นเวลา 7 วัน พญามุจลินท์เกิดศรัทธาจึงได้ขุดรอบขนบแล้วแผ่พังพานปกพระเศียรของพระพุทธเจ้าป้องกันลมและฝนไม่ให้ตกต้องพระวรกาย และตราสัญลักษณ์ วปร ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย
ส่วนหลัง เป็นเรื่องราวระหว่างที่พระพุทธองค์เสด็จขึ้นมาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อตรัสพระธรรมเทศนาพระอภิธรรม 9 คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา เพื่อให้พระมารดาได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
รางวัลชมเชย
ได้แก่ อำเภอสิรินธร
นายจิรนันท์ ศรีแก้วกุล เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ฉากหน้าของขบวนต้นเทียน เป็นการประดิษฐ์องค์ปู่มุจลินท์ 7 เศียร กล่าวถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับเสวยวิมุติสุข ได้เกิดมีพายุ 7 วัน 7 คืน ด้วยความศรัทธาจึงได้แผ่พังพาน บังลม บังฝน ให้องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้านข้างซ้าย - ขวาของขบวนตันเทียนประดับด้วยพยานาคเลื้อยทั้งตัวประดิษฐ์ด้วยใบลานและตัวสิงห์ ตัวสีโห ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรมอีสานเรื่องสังข์สินไชย
ด้านหน้าต้นเทียนเป็นฐานซุ้ม เทิดพระเกียรติเฉลิมฉลอง 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านข้ายและต้านขวา เป็นเทพบุตร เทพธิดา ยืนถือเครื่องแขวนเครื่องสูง ประกอบด้วยฉัตรเทียน 5 ชั้น และบังแส้ต้นเทียนคลุมด้วยบุษบก ประดับด้วยการแทงหยวกลายโบราณตั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอุบล
ฉากหลังต้นเทียน เป็นซุ้มเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร สยามบรมราชกุมารี ด้านข้างประดับด้วยหงส์ประดิษฐ์จากใบลาน
ด้านหลัง เป็นแท่นประดิษฐ์สถานพระพุทธรูป พระพุทธปฏิมาสิรินธรเจริญทัศน์ (องค์จำลอง) ซึ่งสมเด็จพระเทพพระรัตนราชกุมารี ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2543 ให้เป็นพระพุทธรูปคู่วัดเจริญทัศน์และอำเภอสิรินธร
รางวัลชมเชย
ได้แก่ อำเภอตาลสุม
พระครูปลัด อธิราช นนฺทิโย เลขาเจ้าคณะตำบลพิบูล (ธ) เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนหน้า ทำเป็นพระมหาชนก ซึ่งเป็นหนึ่งในทศชาติชาดก อันเป็นชาดกอันดับ 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยมีคติธรรม แสดงถึงถึงความเพียร ความอดทน แม้ตกทุกข์ได้ยากก็ไม่ท้อถอย และมีกินรีซึ่งเป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ พร้อมพญานาคร่วมอัญเชิญเทียนพรรษา
ส่วนกลาง ทำเป็นราชรถทรงบุษบกประดับด้วยงานศิลปะแทงหยวก ซึ่งเป็นศิลปะงานฝีมือช่างประเภทหนึ่ง ที่จัดอยู่ในทานช่างสิบหมู่ อันญเชิญเทียมพรรรษาที่ทำนาจากเทียนในปันมัตรวมกับ มีฐานกันเทียนที่รองด้วยกระทงประดับขิดลายอันวิจิตร
ส่วนท้าย เล่าเรื่องพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเถลิงถวัลราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 พร้อมทั้งเทวดา และสัตว์ป่าหิมพานต์น้อยใหญ่ร่วมกัน