ผลการประกวดต้นเทียนพรรษา ประเภทเทียนโบราณ ขนาดเล็ก 2567
จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ได้กำหนดจัดประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567 "เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง" ระหว่างวันที่ 17-23 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง
การประกวดต้นเทียนพรรษา งานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำปี 2567 ประเภทเทียนโบราณแบบดั้งเดิม (เทียนฟั่นหรือนำมามัดรวมกัน) ขนาดเล็ก ส่งเข้าประกวดรวม 8 ต้น ได้แก่
1. อำเภอกุดข้าวปุ้น
2. ส.กุฏิไม้
3. อำเภอพิบูลมังสาหาร
4. อำเภอดอนมดแดง
5. วัดชัยอุดม บ้านชัยอุดม-ชัยเจริญ
6. วัดเวตวันวิทยาราม ชุมชนบ้านก่อ-บ้านหนองแสงใต้
7. วัดแสงเกษม อำเภอเดชอุดม
8. วัดศิริสารคุณ ชุมชนบ้านตลาด-บ้านศรีอุดม
ผลการประกวด
ต้นเทียนพรรษา ประเภทเทียนโบราณแบบดั้งเดิม (เทียนฟั่นหรือนำมามัดรวมกัน) ขนาดเล็ก มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ได้แก่ อำเภอดอนมดแดง
พระครูปลัดจิรายุส อินทปัญโญ เลขานุการรองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี (ธ) เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนหน้า นำหน้าขบวนเทียนพรรษาโดย พญาสิริกันทรานาคราช รองรับองค์พญาสิริกันทรานาคราชด้วยพญาหงษ์ ด้านข้างป็นบริวารพญานาคทั้งสองฝั่ง ด้านหลังพญานาคราช จะเป็นตราสัญลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ วปร
ส่วนกลาง จัดทำเป็นราชรถบุษบกรองรับต้นเทียนพรรษา ที่ประกอบตกแล่งด้วยการพับใบลาน ลวดลายกนกใบลาน ผสมผสานด้วยดอกไม้ ด้านท้ายราชรถ เป็นตราสัญลักษณ์งานเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567
ส่วนท้าย เป็นเรื่องราวพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงหลังจากได้แสดงธรรมโปรดพระมารดาบนสวรรค์ ด้านหลังเป็นต้นบายศรีที่ทำด้วยงานใบตองอันปรานีตเพื่อเป็นพุทธบูชา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ได้แก่ วัดชัยอุดม บ้านชัยอุดม-ชัยเจริญ
คุณไอยเรศ สารีบุตร เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนหน้า เป็นรูปพญานาค 5 ตัว อัญเชิญตราสัญลักษณ์ วปร ซึ่งตั้งบนดอกบัวสัญลักษณ์เมืองอุบลราชธานี เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เมืองเทียน เมืองธรรม งามล้ำเมือง 4 แสง ตามแนวคิดการจัดงานแห่เทียนพรรษาในปี 2567 นี้
ส่วนหลัง เป็นพุทธประวัติตอนประสูติ ในวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (วันวิสาขบูชา) ปีจอ ที่สวนลุมพินีวัน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้แก่ วัดเวตวันวิทยาราม ชุมชนบ้านปากอ-บ้านหนองแสงได้
คุณนันทพัทธ เสียงเย็น เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนด้านหน้าของต้นเทียน เป็นราชรถสุวรรณหงส์รายล้อมด้วยองค์พญานาคราชสุวรรณหงส์ ทรงตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลอง 72 พรรษารัชกาลที่ 10 ขึงเป็นปีมหามงคลยิ่งของปวงชนชาวไทย นาคราชผู้ทรงปักรักษาและศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ด้านท้ายรถ เป็นการแสดงถึงพุทธประวัติองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนั่งตรัสรู้ และมีบัลลังก์แก้ว ที่ทวยเทพเทวาอารักษ์ร่วมกันนิมิตเพื่อเป็นพุทธบูชาให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพญานาคราชมุจลินท์ ที่ทรงเลื่อมใส่ในพระพุทธศาสนาได้มาร่วมศรัทธาในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ในครั้งนี้
รางวัลชมเชย
ได้แก่ อำเภอพิบูลมังสาหาร
พระครูปลัด อธิราช นนฺทีโย เลขาเจ้าคณะตำบลพิบูล(ธ) เป็นหัวหน้าช่าง
ส่วนหน้า เป็นองค์พระพิฆเนศ 4 กร โดยมีความเชื่อว่า พระพิฆเนศเป็นเทพเจ้าแห่งปัญญาผู้ปราดเปรื่อง เป็นเลิศในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นการคารวะในฐานะปฐมบูชา ผู้ประศาสตร์วิชา และความสำเร็จ โดยมีกินรีซึ่งเป็นสัตว์ป้าหิมพานต์ และพญานาคร่วมอัญเชิญเทียนพรรษา
ส่วนกลาง ทำเป็นราชรถทรงบุษบก ประดับด้วยงานศิลปะแทงหยวก ซึ่งเป็นศิลปะงานฝีมือช่างประเภทหนึ่งจัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ อัญเชิญเทียนพรรษาที่ทำมาจากเทียนไขเป็นเล่มมัดรวมกัน เปรียบเสมือนชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร ที่หล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเพื่อสืบสานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2567
ส่วนท้าย เล่าเรื่องพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ โดยมีเหล่าเทพเทวดาร่วมสรรเสริญ และมีสัตว์ป้าหิมพานต์ต่างๆ เพื่อความกลมกลืนและอ่อนช้อย สวยงามตระการตา
รางวัลชมเชย
ได้แก่ อำเภอกุดข้าวปุ้น
นายวัฒนา มัฐผา เป็นหัวหน้าช่างเทียน
ส่วนหน้า เป็นพญานาคราชสามเศียร มีพระนามว่าพญาอินทรนาคราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเมืองพนมบุรี ผู้ปกปักรักษาพระธาตุพนม ประทับอยู่ ณ บึงใต้ฐานสถูปพระธาตุพนมองค์เดิม เป็นพญานาคราชที่อยู่ในตระกูลฉัพพยาปุตตะ ถัดมาเป็นซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์ วปร รัชกาลที่ 10 ช้างเผือก 3 เชือก พร้อมด้วยเหล่าเทพพนมถวายมาลัยดอกไม้สุด เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยใบลาน ไม้ไผ่สาน ใบตอง เชือกปอ และมาลัยดอกไม้สด-แห้ง
ส่วนข้าง พญานาค ปลาอานนท์ หงส์ ดอกบัวและใบบัวประดิษฐ์ตกแต่งจากใบลาน เชือกปอ ไม้ไผ่สานใบตองสด-แห้งและดอกไม้สด พร้อมด้วยขันหมากเบ็ง เครื่องบูชาตามแบบประเพณีอีสาน และป้ายอำเภอกุดข้าวปุ้น
ส่วนท้าย พระพุทธเจ้าปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับนั่งสมาธิ หลังจากที่พระบรมโพธิสัตว์มีชัยชนะเหนือพญามารแล้ว ทรงบำเพ็ญสมาธิต่อไปเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสปราศจากอุปกิเลสแล้ว ในปฐมยามทรงบรรลุจุตุปปาตญาณ คือสามารถหยั่งรู้การเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วตายไปประสบสุขและทุกข์ตามกรรมที่ทำไว้ และในปัจฉิมยาม พระองค์ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงทำอาสวกิเลสทั้งหลายให้ดับสินไปจนได้บรรลอนตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลารุ่งอรุโณทัยมีเหล่าเทวดานั่งแช่ช้องสาธุการด้วยความปิติยินดี ทำการสักการบูชาโดยการโปรยปรายบุบผามาลัย อีกทั้ง พานบายศรีที่มีความวิจิตรบรรจงสวยงามตามแบบไทยผสมสานแบบอีสานตั้งเดิม ตกแต่งด้วยงานใบตอง มาลัยดอกไม้สด-แห้ง เครื่องแขวนและอื่นๆ
ด้านหลัง เป็นหางพญานาคที่ทำเป็นกนกไทย ใช้ใบลานเชือกปอติดลวดลายตกแต่งเป็นรูปดอกบัว 4 เหล่า ตามลวดลายกนก