รร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลฯ ซ้อมรำ "หมอลำวาดอุบล"
วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี ฝึกซ้อมขบวนแห่เทียน ภาคกลางคืน ชื่อชุดการแสดง "หมอลำวาดอุบล" เตรียมร่วมงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประจำปี 2565 ภายใต้ชื่องานว่า “121 ปี ทวยราษฎร์ไฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา” ซึ่งจะใช้แสดงโชว์ในวันที่ 13 และ 14 กรกฎาคม 2565 ณ บริเวณปะรำพิธี หน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม
สำหรับการแสดงชุด "หมอลำวาดอุบล" เป็นขบวนรำลำดับที่ 8 ของการแสดงแห่เทียนภาคกลางคืน อำนวยการฝึกซ้อมโดย นายชาคริต พิมพ์หล่อ ผู้อำนวยการโรงเรียน และควบคุมการฝึกซ้อมโดย คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี
ท่าฟ้อนของหมอลำกลอนวาดอุบลราชธานี แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ท่าฟ้อนเกี้ยว หรือ ท่าฟ้อนแม่บท ท่าฟ้อนของหมอลำวาด มีท่าประกอบ 2 ประเภทคือ ท่านาคเกี้ยวเกล้า แสดงออกการใช้ข้อมือและช่วงแขน มีความหมายแสดงการเคารพครูบาอาจารย์
ท่าฟ้อนธรรมดา แสดงท่าออกไหล่และช่วงแขน มีความหมายแสดงการเตรียม เพื่อเชื่อมโยงท่าใหม่ ท่าสาละวันเตี้ยลง แสดงท่าออกทางช่วงขาและลำตัว แสดงให้เห็นถึงอารณ์นุกสนานหยอกเย้า ท่าจก หรือท่าปัดป้อง แสดงท่าออกทางช่วงแขนให้ทางจับต้องหรือปัดป้องอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นแสดงอารมณ์สนุกสนานทางอารมณ์รัก ท่าฟ้อนไล่ครุบ แสดงท่าออกทางการเคลื่อนไหวของร่างกายใน ท่าไล่และหนี แสดงถึงอารมณ์ดุดัน ต่อสู้และหวาดกลัว ท่าฟ้อนม้วนมือ แสดงออก ทางข้อมือและช่วงแขนหมุนวนเป็นการแสดงสัญญาณว่าสิ้นสุดการฟ้อนลง ท่าฟ้อนกำมือ แสดงออกถึงมือหรือข้อมือและช่วงแขน แสดงอารมณ์ ของการสิ้นสุด หรือการเลิกลาจากกัน ท่าฟ้อนอิสระของหมอลำกลอน วาดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการฟ้อนประเภทการลำการสั้นของหมอลำกลอน เพียงคนเดียว มีหลายท่าและจำนวนการแสดงท่าเหล่านั้น จะมีลีลาทางสัมพันธ์สอดคล้องกับเนื้อหาและจังหวะ