วัดแจ้ง ชนะเลิศ ต้นเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่
ด้วย จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน กำหนดจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2566 ในระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้รู้จักมากยิ่งขึ้น เป็นจุดหมายของ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้มีรายได้ จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในห้วงการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา นั้น
บัดนี้ การตัดสินการประกวดตันเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2566 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อย ต้นเทียนพรรษา ประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ ผลปรากฏดังนี้
รางวัลชนะเลิศ
ได้แก่ วัดแจ้ง
ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินสด 200,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ได้แก่ วัดศรีประดู่
ได้รับถ้วยรางวัล พร้อมเงินสด 180,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้แก่ วัดบูรพา
ถ้วยรางวัล พร้อมเงินสด 150,000 บาท
รางวัลชมเชย
ได้แก่ วัดพลแพน
เกียรติบัตร พร้อมเงินสด 50,000 บาท
สำหรับต้นเทียนพรรษ วัดแจ้ง เป็นต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ขนาดใหญ่ มีนายเกรียงไกร พันธุ์พิพัฒน์ เป้นหัวหน้าช่างเทียน
ตอนหน้า จัดทำเป็นพระนารายณ์ทรงครุฑ ถัดมาจัดทำเป็นพุทธชาดก เรื่อง พระมหาชนก เป็นชาดกเรื่องที่ 2 ในทศชาติ กล่าวถึง พระมหาชนก ซึ่งพระบิดาถูกชิงราชสมบัติ คิดจะไปชิงราชสมบัติคืน จึงได้ลาพระมารดาออกไปค้าขายทางทะเล แต่เรือเกิดอับปางลง พระองค์เพียรพยายาม ว่ายน้ำอยู่ถึง 7 วัน 7 คืน จึงได้รับความช่วยเหลือจากนางมณีเมขลา
ตอนหลัง จัดทำเป็นตอนที่ นางมณีเมขลา ซึ่งมีหน้าที่ดูแลมหาสมุทร นางอุ้มพระมหาชนกไปวางไว้ ณ ศาลาในสวนแห่งหนึ่งในเมืองมิถิลา ซึ่งเมืองว่างจากการปกครอง เพราะกษัตริย์สวรรคต พระมหาชนกได้รับการอภิเษกเป็นพระราชา ทรงครองราชย์สมบัติ ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงคำนึงว่า ผู้ฉลาดควรมีความตั้งใจในการทำงาน ไม่เบื่อหน่ายงานของตน แม้ตกทุกข์ได้ยากก็ไม่หมดหวัง เมื่อได้รับความสุขก็ควรตั้งใจทำประโยชน์ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น