อุบลฯ จัดรถนำเที่ยวพาไหว้พระ 9 วัด ในเขตเทศบาลนครอุบลฯ ฟรี
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จัดรถนำเที่ยวไว้บริการประชาชนฟรี พาไหว้พระ 9 วัดในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยจุดบริการเริ่มต้นที่ ศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ไปยังสถานที่และวัดต่างๆ รอบเมืองอุบลราชธานี 9 จุดจอด ดังนี้
- ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี
- ศูนย์แสดงสินค้า OTOP CENTER
- วัดหนองบัว
- วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่)
- วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย)
- วัดทุ่งศรีเมือง
- วัดเลียบ - วัดใต้
- วัดหลวง
- วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
- วัดศรีอุบลรัตนาราม
นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะใช้บริการรถนำเที่ยว สามารถไปรอขึ้นรถได้ที่บริเวณหน้าศาลหลักเมือง ตั้งแต่เวลาประมาณ 8-9 โมงเช้า รถมีประมาณ 10 คัน แต่ละคันเมื่อได้ผู้โดยสารในจำนวนที่เหมาะสม ก็จะออกรถทันที ไม่ได้จัดเวลาออกเป็นเวลาที่แน่นอน
การไปเที่ยวไหว้พระ 9 วัด แต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง เสร็จแล้วจะกลับมาส่งที่จุดเดิม และรอบบ่ายหากมีนักท่องเที่ยวประสงค์จะใช้บริการ ก็จะออกได้อีก 1 รอบ เมื่อนักท่องเที่ยวใช้บริการรถคันไหน ควรจดจำและกลับมาขึ้นรถคันเดิม เพราะคนขับจะนับจำนวนผู้โดยสารให้ครบทุกครั้งก่อนออกเดินทางไปจุดหมายต่อไป
- หลักเกณฑ์การให้บริการรถนำเที่ยวไหว้พระ 9 วัด ในเขตเทศบาลนครอุบล
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2515
โดยกรมศิลปากรออกแบบเป็นยอดบัวตูม ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ในการสร้าง
และเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร
ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
วัดหนองบัว อยู่บริเวณชานเมืองอุบลราชธานี ไปทางทิศเหนือ สร้างในปี พ.ศ.2498
มี "พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์" ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในโอกาสครบรอบ 25 ศตวรรษของพระพุทธศาสนา
โดยจำลองแบบมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
นับเป็นวัดเดียวในภาคอีสานที่มีเจดีย์แบบนี้ และยังมีชื่อเสียงในการทำเทียนพรรษาอีกด้วย
วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอุบลราชธานี
มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานในพระอุโบสถ
คือ "พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2350
ทุกวันเพ็ญเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ของทุกๆ ปี จะมีการทำบุญตักบาตร เทศน์มหาชาติชาดก
และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2332 ที่ชายดงอู่ผึ้ง
ผู้สร้างคืออุปราชก่ำ โอรสของพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ผู้ก่อตั้งเมืองอุบลฯ เจ้าเมืองคนแรก
ปัจจุบันตั้งอยู่ถนนหลวง ระหว่างวัดทุ่งศรีเมืองกับวัดมหาวนาราม
มีพระแก้วโบราณ "พระแก้วโกเมน" เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวอุบล
วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่บนถนนหลวงตัดกับถนนศรีณรงค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3
ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมของอีสานที่สวยงาม และสมบูรณ์ที่สุด คือ "หอไตรกลางน้ำ"
ที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เป็นศิลปะผสมผสานระหว่างไทย พม่า และลาว
ตัวอาคารเป็นเรือนไทยแบบฝาปะกน ภายในมีตู้เก็บพระธรรมลงรักปิดทอง
ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันที่สวยงามทั้งสองด้านเป็นลักษณะของศิลปะลาว
วัดเลียบ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีลเถร ได้บุกเบิกสร้างขึ้น เป้นวัดธรรมยุตเมื่อ พ.ศ.2435 ในรัชกาลที่ 5
มีพระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์) เป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยภิกษุ สามเณร
พระอุบลการประชานิจ (บุญชู พรหมวงศานนท์) พระสุรพลชยากร (อุ่น) ท้าวกรม ช้างทองจัน
และสังกาจารปัจฌา สังการีจารเกษและทายิกาได้พร้อมกันมีศรัทธาขยายพื้นที่วัดเพิ่มเติม
โดยสร้างรั้วรอบวัด เสนาสนะ และถาวรวัตถุ
นมัสการรูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ กนฺสีโล และกราบพระแก้วนิลกาฬ
วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.2322
มีชื่อเดิมว่าวัดใต้เทิง ตามประวัติกล่าวไว้ว่า เดิมมีอยู่ 2 วัด คือวัดใต้เทิง และวัดใต้ท่า
ต่อมาได้ยุบ 2 วัด มาเป็นวัดเดียวกันในปี พ.ศ.2545 เรียกว่า วัดใต้เทิง แปลว่า เหนือ หรือสูงขึ้นไป
ต่อมาคำว่า เทิง หายไป เหลือแต่คำว่าวัดใต้ สิ่งสำคัญวัดนี้คือ อุโบสถสร้างด้วยศิลปะ 3 ชาติอยุ่หลังเดียวกัน
คือ หลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ ส่วนฐานเป็นศิลปะขอมผสมเวียดนาม
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ หนัก 1 ตื้อ จึงได้ชื่อว่า วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์คื้อ
วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้งกับท่าจวน (ตลาดใหญ่)
เมื่อ พ.ศ.2324 เมื่อพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ได้อพยพมาจากดอนมดแดง
มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง และได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น
วัดหลวง จึงได้ชื่อว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี
มีพระแก้วไพฑูรย์ เป็นหนึ่งในแก้วรัตนชาติ เป็นพระแก้วโบราณสำคัญของวัด
วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ตั้งอยู่โค้งถนนสมเด็จ ริมฝั่งแม่น้ำมูล สร้างในปี พ.ศ.2396
เป็นวัดธรรมยุตนิกายแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีพระอุโบสถที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน
หลังคาเป็นแบบไทยภาคกลาง มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากจีน และเวียดนาม
ตัวอาคารเลียนแบบตะวันตก ส่วนฐานเป็นแบบเขมร
วัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นอารามหลวง ตั้งอยู่บนถนนอุปราช ข้างศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า)
พระอุโบสถสร้างตามแบบวัดเบญจมบพิตร เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วโบราณคุ่บ้านคู่เมืองอุบล
คือ พระแก้วบุษราคัม แกะมาจากแก้วบุษราคัม หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว สูงจากเรือนแท่นถึงเปลวโมลี 10 นิ้ว
มีความงดงามมาก
- หลักเกณฑ์การให้บริการรถนำเที่ยวไหว้พระ 9 วัด ในเขตเทศบาลนครอุบล
ติดต่อประสานงาน