guideubon

 

เชิญชาวอุบลฯ ฟ้อนรำบวงสรวง สดุดีวีรกรรมเจ้าคำผง 10 พ.ย.63 นี้

รำถวายมือ-เจ้าคำผง-01.jpg

เชิญชาวอุบลฯ ฟ้อนรำการแสดงชุด รำบวงสรวงพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) และฟ้อนอุบลราชธานี งานพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) โดย สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-15.jpg

ฝึกซ้อมท่ารำ จากวีดีโอชุดนี้ แสดงจริง 10 พ.ย.63 08.00 น. ณ ทุ่งศรีเมืองอุบลฯ อยากเห็นพลังชาวอุบลออกมารำถวายมือให้มากที่สุด

เมืองอุบลราชธานี-01.jpg

นับแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ "พระประทุม" เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ ครองเมือง "อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช" เมื่อปีพุทธศักราช 2335 หากนับถึงปัจจุบัน ปีพุทธศักราช 2560 ก็ได้ 225 ปี อันแสดงให้เห็นว่า เมืองอุบลราชธานี มีประวัติศาสตร์และความเป็นมาอันยาวนาน มีความเจริญก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงาม ประชาชนชาวเมืองอุบลราชธานี เป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ จนเป็นที่ยอมรับกันว่า "อุบลราชธานีเมืองนักปราชญ์"

สาเหตุที่เมือง "อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช" มีคำว่า "ราชธานี" ต่อท้ายนั้น หมายถึงเป็นเมืองอาสาข้าหลวงเดิม เพราะถ้ามีราชสงครามมาติดพันประเทศชาติ เมืองอุบลก็จะตามเสด็จไปปราบปรามทุกครั้ง ในฐานะเป็นประเทศราช ส่วนคำว่า "ประเทษราช" สันนิษฐานว่า คงถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 3 (ไกด์อุบล : 222 ปีอุบลราชธานี)

อีกประการหนึ่ง เจ้าพระตาและเจ้าพระวอ บรรพบุรุษผู้ก่อสร้างเมืองอุบล เป็นโอรสเจ้าปางคำ เจ้านายเวียงจันทน์ สืบเชื้อสายมาจากนครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า มีฝีมือเข้มแข็งกล้าหาญ เคยดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองหนองบัวลุ่มภู สืบต่อจากเจ้าปางคำผู้เป็นบิดา หลักฐานที่แสดงความเป็นเจ้านายเชื้อสายพระราชวงศ์ของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ คือ การได้ปกครองเมืองหนองบัวลุ่มภู ซึ่งเป็นเมืองใหญ่มีไพร่พลมาก ดังปรากฏเมืองหน้าด่านทั้ง 4 คือ เมืองภูเขียว ภูเวียงผ้าขาว และพันนา การได้ดำรงตำแหน่งในอาชญาสี่ หรืออาญาสี่ (เจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร) เมื่อถึงแก่อสัญกรรม มีการทำพิธีศพแบบนกหัสดีลิงค์ ซึ่งจัดให้เฉพาะตำแหน่งอาชญาสี่เท่านั้น และเมื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราช ต่างจากเมืองเขมรป่าดง เช่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 6 ได้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พุทธศักราช 2459 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล "ณ อุบล" อันหมายถึงเชื้อสายเจ้านายอุบลราชธานีแต่โบราณ (ไกด์อุบล : 222 ปีอุบลราชธานี)

อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช-01.jpg

พระประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) บุตรพระตา อพยพไพร่พลจากบ้านห้วยแจระแม มาตั้งอยู่ที่ ดงอู่ผึ้ง ในปลาย พ.ศ.2322 แล้วขนานนามเมืองว่า "เมืองอุบล" เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเมืองหนองบัวลุ่มภูอันเป็นชื่อบ้านเดิม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ "พระประทุม" เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ ครองเมือง "อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช" เมื่อวันจันทร์แรม 13 ค่ำเดือน 8 จุลศักราช 1154 ตรงกับวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พุทธศักราช 2335 และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2338 สิริอายุได้ 85 ปี (ไกด์อุบล : 222 ปีอุบลราชธานี)

สดุดีวีรกรรม-เจ้าคำผง-02.jpg

ทุกวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปี จังหวัดอุบลราชธานี รวมไปถึงชาวยโสธรและอำนาจเจริญ (แยกตัวออกจากจังหวัดอุบลราชธานีในภายหลัง) กำหนดให้เป็นวันประกอบพิธีบวงสรวง พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ตั้งแต่ประมาณปี 2540 เป็นต้นมา  และในปี 2549 ได้เปลี่ยนชื่องานเป็น งานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-02.jpg

กำหนดการ งานพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรม พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ประจำปี พ.ศ.2563

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ณ บริเวณศาลาจตุรมุข ทุ่งศรีเมือง

เวลา 17.00 น.
- ชมการแสดงบรรเลงดนตรีไทย จากชมรมผู้สูงอายุ กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
- ชมการแสดงอังกะลุง จากชมรมผู้สูงอายุ สถานีกาชาดที่ 7 อุบลราชธานี

เวลา 18.30 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์
- วัดทุกแห่ง ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญเมืองให้แก่บรรพบุรุษของจังหวัดอุบลราชธานี

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-03.jpg

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดหลวง และลานอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ทุ่งศรีเมือง

เวลา 06.30 น. 
- พิธีวางขันหมากเบ็งสักการะพระเจ้าใหญ่องค์หลวง
- พิธีไหว้พระเจ้าใหญ่องค์หลวง และพิธีสักการะรูปจำลอง (องค์ใหญ่) พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)

เวลา 07.00 น. เคลื่อนขบวนอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองตามแบบโบราณ จากวัดหลวง เลี้ยวซ้ายถึงวงเวียนน้ำพุ เลี้ยวขวาถนนอุปราช ถึงสี่แยกตัดถนนศรีณรงค์ เลี้ยวขวาเข้าไปหน้าศาลหลักเมือง เลี้ยวซ้ายเข้าทุ่งศรีเมือง ตรงไปบริเวณอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-04.jpg

เวลา 08.00 น. หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน วางขันหมากเบ็ง
เวลา 09.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร และผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ วางขันหมากเบ็ง
เวลา 09.09 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีประกอบพิธีบวงสรวง พิธีเปลี่ยนผ้าแพร สักการะด้วยมาลัยกร และวางขันหมากเบ็ง

- กล่าวสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)
- พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้บริจาคเงินสมทบทุนมูลนิธิพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) 
- รำบวงสรวงพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) โดย ม.ราชภัฏอุบลราชธานี และนางรำจากทุกอำเภอ (10,000 คน) 
- ฟ้อนอุบลราชธานี (บทประพันธ์ของ อ.เทอด บุณยรัตพันธุ์) โดย ม.ราชภัฏอุบลราชธานี และนางรำจากทุกอำเภอ (10,000 คน) 
- รำถวายมือ โดย ม.ราชภัฏอุบลราชธานี นางรำจากทุกอำเภอ (10,000 คน) และผู้ร่วมพิธี 
- เสร็จพิธี

หมายเหตุ

1. มีการจัดแสดงนิทรรศการ ในวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00-21.00 น. 
2. การแต่งกาย : วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 แต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง สุภาพบุรุษนุ่งโจงกระเบน สุภาพสตรีสวมผ้าถุงหรือผ้าซิ่นแบบชาวอุบลราชธานี หรือแบบชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีความหลากหลาย 
3. หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน จัดขันหมากเบ็ง เพื่อถวายสักการะอนุสาวรีย์ พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 หน่วยงานละ 1 คู่ และจัดขันหมากเบ็ง ขนาดเล็กให้กับผู้ร่วมขบวนแห่ขันหมากเบ็ง ทุกคนๆละ 1 ขัน เพื่อแห่จากวัดหลวงถึงทุ่งศรีเมือง  

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-05.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-06.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-07.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-08.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-09.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-10.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-11.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-12.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-13.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-14.jpg

บวงสรวงเจ้าคำผง-2563-16.jpg