guideubon

 

เชิญร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์ วิหารพระบทม์ วัดกลาง หลังถูดพายุฤดูร้อนถล่ม

พระบทม์-วัดกลาง-อุบล-01.jpg

เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 เวลาประมาณ 16.00 น. เกิดพายุฤดูร้อนพัดผ่านตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้บ้านเรือนหลายแห่งได้รับความเสียหาย รวมทั้งวิหารพระบทม์ วัดกลาง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ด้วย

พระบทม์-วัดกลาง-อุบล-02.jpg

โดยพายุฤดูร้อนได้พัดเอาฝ้าเพดานของวิหารพระบทม์ พังถล่มลงมา สิ่งของและพระหมู่รายรอบพระบทม์ได้รับความเสียหาย แต่เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่พระบทม์ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด

พระบทม์-วัดกลาง-อุบล-03.jpg
ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559

ในการนี้ของเชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วิหารพระบทม์ให้กลับมาสวยงาม สมควรแก่เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอุบลมาสองร้อยกว่าปีเช่นกัน โดยการโอนเงินบริจาคเข้าบัญชี 

ชื่อบัญชี บูรณปฏิสังขรณ์วัดกลาง
ธนาคารกรุงเทพ เลขบัญชี 256-4-53072-9
สาขาราชบุตร อ.เมือง จ.อุบลฯ

พระบทม์-วัดกลาง-อุบล-04.jpg

เมื่อ พ.ศ.2334 เมื่อเจ้าคำผงได้สร้างเมืองอุบลราชธานี และสร้างวัดหลวงเสร็จแล้ว ฝ่ายเจ้าราชวงศ์ (ก่ำ) ซึ่งเป็นบุตรของพระราชวงศา มีจุดประสงค์สร้างถาวรวัตถุการกุศล เป็นอนุสรณ์ให้เป็นหลักฐานมิ่งขวัญบ้านเมืองเช่นเดียวกับเจ้าหลวง จึงได้คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ซึ่งอยู่ใกล้กับคุ้มราชวงศ์ และได้ชักชวนราษฎรตั้งวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งให้นามว่า “"วัดกลาง"” เพราะอยู่ย่านกลางเมืองอุบลราชธานี หรืออีกนัยหนึ่ง เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล กึ่งกลางระหว่าง วัดเหนือท่า (ปัจจุบันคือ สนง.เหล่ากาชาดจังหวัดอุบลฯ) และวัดใต้ท่า (เคยใช้พื้นที่เป็น สน.การไฟฟ้าอุบลฯ ตรงข้ามกับวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) จึงเรียกว่า วัดกลาง

ส่วนวัดกลางนั้น สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 2336 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2515 มีพระบทม์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี ประดิษฐานอยู่ภายในวิหาร

พระบทม์ เป็นพระประธานในวิหารเก่าแก่ ตั้งแต่ครั้งสร้างวัดเป็นพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัยที่งดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 78 นิ้ว (1.98 ม.) สูง 108 นิ้ว (2.75 ม.) สร้างด้วยอิฐหินเหนียวผสมเกสรดอกไม้บัวจึงได้มีชื่อว่า "พระบทม์" มาจากคำว่า ปทุม-ปทม-บทม์ เหล็กเสริมภายในและใช้เกสรดอกบัวป่นละเอียดคลุกเคล้ากับยางบง น้ำแช่หนังวัวเผา น้ำแช่เปลือกเม็ก น้ำข้าวเจ้าต้ม หินเผาไฟป่นให้ละเอียด น้ำอ้อยเคี่ยวให้เหนียวผสมเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วใช้ฉาบทาให้ผิวขององค์พระบทม์ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกขานกันว่า "ปูนน้ำอ้อย"