guideubon

 

งานสัมมนา ถอดรหัสคู่ค้า : เจาะลึกการค้าการลงทุนในความตกลง TPP

ถอดรหัสคู่ค้า-TPP-UBON.jpg

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาหัวข้อ “ถอดรหัสคู่ค้า : เจาะลึกการค้าการลงทุนในความตกลง TPP”

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน 2558 เวลา 08.30 - 14.00น. ณ ห้องทับทิมสยาม โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ โฮเตล แอนด์ คอนเวนชั่น อุบลราชธานี

สำรองที่นั่ง ได้ที่ กิ๊ก 087-9565330 /ที่นั่งมีจำนวนจำกัด /ฟรีตลอดงาน

ถอดรหัสคู่ค้า-TPP-กำหนดการ.jpg

 

คนไทยทั่วไปอาจยังไม่คุ้นเคยกับ TPP นักเนื่องจากเป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งได้รับความสนใจในต่างประเทศอย่างกว้างขวางเมื่อปลายปี 2009 หลังจากที่ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศสนับสนุนกรอบความร่วมมือที่มุ่งสนับสนุนการสร้างเขตการค้าเสรีคุณภาพสูง (high-standard regional agreement) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ระหว่างการเยือนประเทศญี่ปุ่น ก่อนการประชุม APEC ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงค์โปร์ เพียง 1 วัน

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement – TPP) ถูกจุดประกายครั้งแรกที่ขอบสนาม (sidelines) การประชุมผู้นำ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) ที่เม็กซิโกในปี 2002 โดย 3 ประเทศ ได้แก่ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และชิลี และเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ P3-CEP หรือ Pacific Three Closer Economic Partnership ต่อมาบรูไนซึ่งเคยเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Associated Member หรือ Observer) ได้ลงนามเป็นสมาชิกในเดือนสิงหาคม ปี 2005 ทำให้ TPP มีจำนวนสมาชิกเพิ่มเป็น 4 ประเทศ จึงถูกเรียกว่า Pacific 4 หรือ P4 แต่ยังไม่มีบทบาทสำคัญและไม่ได้รับความสนใจจากประเทศสมาชิก APEC มากนัก

จนกระทั่งเมื่อประธานาธิบดีสหัฐฯ ประกาศสนับสนุน TPP เป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีลักษณะกว้างขวาง (Comprehensive Agreement) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดภาษี (tariff) ในกลุ่มประเทศสมาชิกลง 90% ภายในปี 2006 และมุ่งให้ภาษีเป็น 0% ภายในปี 2015 นอกจากนี้ยังมีการเจรจาครอบคลุมประเด็นหลักอื่นๆ อาทิ การค้าสินค้า (Trade in Goods) กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) การเยียวยาทางการค้า (Trade Remedies) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures) อุปสรรคทางการค้า (Technical Barriers to Trade) การค้าบริการ (Trade in Services) ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) และนโยบายการแข่งขันและการจัดซื้อจัดหาโดยรัฐ (Government Procurement and Competition Policy)