guideubon

 

4 เคล็ดลับวิธีเลือกเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพสำหรับหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ

ในยุคที่ใครหลายคน ต่างก็ต้องนั่งทำงานผ่านหน้าจอคอมฯ ติดต่อกันหลายชั่วโมงแบบนี้ แน่นอนว่าปัญหาที่คนส่วนใหญ่มักเจอ คงหนีไม่พ้นอาการปวดหลัง ถึงแม้อาการดังกล่าวจะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ทุกคนรู้ไหมว่า ถ้าหากเราปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่ได้มองหาตัวช่วยซัพพอร์ตหลัง อย่างเก้าอี้ทำงานสุขภาพ  หรือไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การนั่งทำงานของตัวเองให้เหมาะสม แน่นนอนว่าความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลังเรื้อรังก็ย่อมเพิ่มสูงมากขึ้น และเพื่อเป็นการบอกต่อ วิธีที่จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังตั้งแต่เนิ่นๆ วันนี้เราจึงได้หยิบเอาขั้นตอนการเลือกเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอย่างเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพมาให้ทุกคนได้ลองไปอ่านกัน ส่วนรายละเอียดทั้งหมดจะเป็นยังไง ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปดูกันเลย 

เก้าอี้ทำงาน-สุขภาพ-01.jpg

 ระดับความสูงต้องเหมาะสม

เก้าอี้ที่เหมาะกับการนั่งทำงานควรจะเป็นเก้าอี้ที่มีความสูงอยู่ในระดับ 75 – 80 เซนติเมตร นอกจากจะต้องมีความสูงอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพยังจะต้องช่วยให้เราสามารถวางเท้าลงบนพื้นหลังจากนั่งได้พอดี และต้องสามารถปรับระดับเพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ร่วมกับโต๊ะที่มีระดับความสูงต่างกันได้

เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพต้องมีพนักพิง

เก้าอี้ทำงานที่ดีจะต้องมีพนักพิงคอยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อส่วนหลัง โดยพนักพิงที่ตอบโจทย์กับคนทำงานควรจะต้องมีระดับความสูงไม่เกินหัวไหล่ มีขนาดพอดีกับแผ่นหลังของเรา และเมื่อพิงแล้วตัวพนักพิงจะต้องสามารถเอนไปด้านหลังได้เล็กน้อย

เก้าอี้ที่ปรับเอนหลังได้

เนื่องจากร่างกายของมนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาให้เราสามารถนั่งทำงานได้ติดต่อกันหลายชั่วโมง ดังนั้นเราจึงอยากจะให้ใครก็ตามที่กำลังมองหาเก้าอี้ทำงานดีๆ สักตัวเลือกเก้าอี้ที่สามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถหรือเคลื่อนไหวแทนการเลือกใช้งานเก้าอี้ที่มีลักษณะแข็งทื่อเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง 

เบาะต้องไม่นุ่มจนเกินไป

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่าเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพนั้นจะต้องเป็นเก้าอี้ที่มีเบาะนุ่ม นั่งแล้วรู้สึกสบาย แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนรู้ไหมว่าจริงๆ แล้วเบาะของเก้าอี้ที่ดีต่อสุขภาพหลังของเรานั้นจะต้องไม่นุ่มจนเกินไป โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเบาะที่นุ่มจนเกินพอดีมักจะไม่มีความแข็งแรงในการรองรับกระดูกเชิงกรานของเราได้มากพอ และเมื่อนั่งไปนานๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการที่เป็นอันตรายอย่างกระดูกเชิงกรานบิดงอตามมาได้ในอนาคต 

ก่อนจากกันไป เราอยากจะบอกว่า ถึงแม้เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การนั่งทำงานของตัวเองให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งให้ก้นและหลังชนิดกับพนัก และการวางแขนให้อยู่ในระนาบเดียวกันกับโต๊ะ เป็นต้น 

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511