อุตุฯ เตือน 11-14 พ.ค.66 อีสานตอนล่างมีฝนตกต่อเนื่อง
วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 06.30 น. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกาศฉบับที่ 5 (21/2566) เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมใต้แสะลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโซกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ซึ่งมีผลกระทบตามพื้นที่บริเวณจังหวัดต่างๆ ดังนี้
วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 : บริเวณจังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์
จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใสโลหะ และหลีกเสี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10-14 พฤษภาคม 2566 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน และคาดว่าจะเคลื่อนเข้าอ่าวเบงกอลตอนบน หลังจากนั้นจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา ส่งผลให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความขึ้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง