อพยพ 12 ชุมชน ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 10 แห่ง
วันที่ 31 สิงหาคม 2565 รายงานสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำมูลที่สถานีวัดน้ำที่ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย ระดับตลิ่งอยู่ที่ 112.00 ม.รทก. หรือ 7 เมตร ระดับน้ำวันนี้ วัดได้ 111.70 ม.รทก. หรือระดับ 6.70 เมตร เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 0.02 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.30 เมตร อัตราการไหลอยู่ที่ 2,120,.00 ลบ.ม./วินาที
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำเอ่อลันตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำ ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ เดชอุดม นาจะหลวย น้ำยืน ทุ่งศรีอุดม น้ำขุ่น และอำเภอนาเยีย จำนวน 33 เทศบาล/ตำบล 186 ชุมชน/หมู่บ้าน แยกเป็น
ด้านการดำรงชีพ ได้รับผลกระทบ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ อพยพ 12 ชุมชน ได้แก่
เทศบาลนครอุบลฯ
- ชุมชนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช (วังแดง)
- ชุมชนวัดบูรพาราม 2
- ชุมชนวัดบูรพาราม 3
- ชุมชนศาลากลางบ้านดู่
- ชุมชนหลังโรงเรียนเยาวเรศฯ 3
- ชุมชนวัดป่าแสนอุดม 1
เทศบาลตำบลแจระแม
- บ้านท่าบ่อ หมู่ที่ 2
- บ้านทัพไท หมู่ 7
เทศบาลเมืองวารินชำราบ
- ชุมชนท่าบ้งมั่ง
- ชุมชนเกตุแก้ว
- ชุมชนหาดสวนสุข
- ชุมชนหาดสวนสุข 1
ตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว 10 แห่ง ได้แก่
- บริเวณสวนสาธารณะห้วยม่วง
- ศาลา SML อเนกประสงค์
- บริเวณรอบบ่อบำบัด
- ศาลากลางบ้านดู่
- บริวเณกลางซอย ตรงข้ามบ้านตายาย
- บริเวณซอยติ่งปลาเผา
- ศาลปู่ตา
- เอกชน SP ท้ายหมู่บ้าน
- โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
- วัดหาดสวนสุข
ติดตั้งเครื่องสูบน้ำระยะไกล ขนาด 12 นิ้ว ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 13 อุบลราชธานี จำนวน 2 เครื่อง และขนาด 30 นิ้ว จากสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 11 จำนวน 1 เครื่อง รวม 3 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำ ป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเกตุแก้วและชุมชนท่าบังมั้ง ในเขตเทศบาลเมืองวารินชำ ราบ อำเภอวารินชำราบ
กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 7 อุบลราชธานี และโครงการชลประทานอุบลราชธานี ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 100 เครื่อง ณ สะพานข้ามแม่น้ำมูลแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาร และได้รับการสนับสนุนการขยายเขตไฟฟ้าพร้อมยกเว้นค่ากระแสไฟฟ้า จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 อุบลราชธานี เพื่อช่วยการเร่งระบายน้ำ