ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ในรอบ 1 ปี
นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี จัดงานแถลงผลการดำเนินงานของจังหวัดต่อสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ในการนี้ จังหวัดอุบลราชธานีได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดด้วย ดังนี้
วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่ เป็นประตูการค้าและการท่องเที่ยว การเกษตรมีศักยภาพ”
พันธกิจ 3 ประการ ได้แก่
1. ยกระดับคุณภาพชีวิตพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
2. ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
3. พัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตรและแปรรูปสินค้าเกษตร
ประเด็นยุทธศาสตร์ 6 ประการ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
จังหวัดอุบลราชธานีได้กำหนด ตำแหน่งการพัฒนา (Positioning) คือ “เมืองส่งเสริมการค้าชายแดน เพื่อการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว”
นโยบายรัฐบาล 11 ด้าน ประกอบด้วย
1. การปกป้องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
2. การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
3. การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
4. การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
5. การยกระดับคุณภาพ และบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน
6. การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
7. การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
8. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญการวิจัย พัฒนาต่อยอดและสร้างนวัตกรรม
9. การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
10. การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
11. การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ระยะเฉพาะหน้าเร่งปรับปรุงประมวลกฎหมายหลักและกฎหมายอื่นๆ ที่ล้าสมัย ไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน
ยุทธศาสตร์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ9 ด้านประกอบด้วย
1. การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2. การพัฒนาคนสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. การสร้างความเข้มแข็งทางการเกษตรความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร
4. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตและมีคุณภาพยั่งยืน
5. การสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
6. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
7. การปรับปรุงรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง
8. การปรับปรุงโทรคมนาคมเทคโนโลยีของชาติ
9. การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และการทุจริตฯ
การดำเนินงานตาม 8 วาระมหาดไทย ประกอบด้วย
พันธกิจที่ 1 : ตามรอยเท้าพ่อ
พันธกิจที่ 2 : คนไทยรักกัน
พันธกิจที่ 3 : เมืองสวยน้ำใส
พันธกิจที่ 4 : เมืองไทยน่าอยู่
พันธกิจที่ 5 : ดำรงธรรม ดำรงไทย
พันธกิจที่ 6 : มหาดไทยใสสะอาด
พันธกิจที่ 7 : ลดความเหลื่อมล้ำ แบ่งปันความสุข
พันธกิจที่ 8 : เรียนรู้ค่านิยมไทย ก้าวไกลสู่อนาคต