guideubon

 

สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดอุบลราชธานี ล่าสุด 20 ส.ค.60

อุทกภัย-อุบล-01.jpg

สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดอุบลราชธานี โดยศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดอุบลราชธานี ประจำวันที่ 20 สิงหาคม 2560

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งสิ้น 23 อำเภอ 113 ตำบล 723 หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตร 206,837 ไร่ เกษตรกร 29,212 ราย บ่อปลา 1,226 บ่อ ถนน 55 สาย สะพาน/คอสะพาน 10 แห่ง ฝายทำนบ/พนังกั้นน้ำ 4 แห่ง วัด 3 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง สถานที่ราชการ 3 แห่ง ขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายแล้ว 19 อำเภอ

อำเภอที่ยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วม จำนวน 4 อำเภอ แยกเป็น น้ำท่วมบ้านเรือน จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ ราษฎรอพยพ 847 ครัวเรือน 3,044 คน ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี 279 ครัวเรือน 1,013 คน เทศบาลเมืองแจระแม 13 ครัวเรือน 66 คน อำเภอวารินชำราบ เทศบาลตำบลบุ่งไหม 223 ครัวเรือน 782 คน ตำบลคำน้ำแซบ 4 ครัวเรือน 14 คน เทศบาลเมือง วารินชำราบ 328 ครัวเรือน 1,169 คน น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ ม่วงสามสิบและอำเภอเขื่องใน

มีการประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย ตาม พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จำนวน 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาจะหลวย น้ำยืน ศรีเมืองใหม่ ตระการพืชผล ดอนมดแดง พิบูลมังสาหาร เมืองอุบลราชธานี สว่างวีระวงศ์ และอำเภอ วารินชำราบ

มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 15 อำเภอ ได้แก่ สว่างวีระวงศ์ โขงเจียม ตระการพืชผล ศรีเมืองใหม่ น้ำขุ่น นาจะหลวย ม่วงสามสิบ ดอนมดแดง น้ำยืน ตาลสุม สำโรง เหล่าเสือโก้ก ทุ่งศรีอุดม เขื่องใน และอำเภอเดชอุดม

ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยระดมความช่วยเหลือจาก ส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ กาชาด พลเรือน ฝ่ายปกครอง อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิการกุศล ได้จัดส่งกำลังพล 676 นาย สิ่งของพระราชทาน/ถุงยังชีพ จำนวน 13,428 ชุด น้ำดื่ม 17,348 ขวด/แกลลอน ยารักษาโรค 1,590 ชุด กระสอบทราย 4,000 กระสอบ เรือผลักดันน้ำ จำนวน 38 ลำ เรือท้องแบน 65 ลำ เรือพลาสติก จำนวน 31 ลำ เรือ(พระราชทาน) หางยาว จำนวน 2 ลำ เครื่องเรือ จำนวน 55 ลำ ห้องสุขา จำนวน 30 ห้อง ถังน้ำ จำนวน 35 ถัง เต็นท์ จำนวน 69 หลัง เครื่องสูบน้ำ จำนวน 9 เครื่อง รถผลิตกระแสไฟฟ้า จำนวน 4 คัน รถน้ำ จำนวน 1 คัน รถผลิตน้ำดื่ม จำนวน 2 คัน รถสุขา จำนวน 1 คัน รถครัวสนาม จำนวน 2 คัน รถเสบียง 1 คัน จำนวน 1 คัน รถกู้ภัย จำนวน 10 คัน รถบรรทุกขนาดเล็ก จำนวน 7 คัน รถบรรทุกขนาดใหญ่ จำนวน 17 คัน และรถตู้ จำนวน 1 คัน เข้าช่วยเหลือ ณ พื้นที่ที่ประสบภัยแล้ว

วันที่ 19 สิงหาคม 2560 กรมชลประทาน ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มบริเวณสะพานเหนือ แก่งสะพือ จำนวน 8 เครื่อง โดยทำการติดตั้งเสร็จเวลา 13.45 น. เริ่มเดินเครื่องครบ 46 เครื่อง แล้ว ตั้งแต่ เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป

วันที่ 19 สิงหาคม 2560 เวลา 13.30 น. บก.ควบคุม กกล.รส.จว.อ.บ.(ร้อย.รส.มทบ.22)จัด ชป.กร/ชป.มวลชน โดย ร.ต.อุทัย จุฑาเลิศ พลลูกมือ 20 นาย พร้อมรถบรรทุก จำนวน 1 คัน สนับสนุน ให้กับ นาย ศิริพงศ์ ทวีแสง (081-5487120) ผจก.ฝ่ายปฏิบัติการ คลังนำ้มัน ปตท.วารินชำราบ เพื่อขนถุงยังชีพ จำนวน 300 ถุง มามอบให้ นาย จีระชัย ไกลกังวาน นายกเทศมนตรีเทศบาลวารินชำราบ และได้แจกจ่ายถุงยังชีพให้กับ ชุมชนดอนงิ้ว ชุมชนท่ากอไผ่ ผลการปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่มีหน่วยทหารเข้ามาดูแลและช่วยเหลือ

วันที่ 19 สิงหาคม 2560 เวลา 16.30 น. บก.ควบคุม กกล.รส.จว.อ.บ.(ร้อย รส.มทบ.22) จัดชุดช่วยเหลือประชาชนประจำศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มทบ.22 ได้ทำการสนับสนุนเรือท้องแบนพร้อมพลขับ ช่วยเหลือรับ - ส่ง ประชาชนที่มารับสิ่งของบริจาค ไปยังชุมชนท่าบุ้งมั่ง และพาสมาคมวัฒนธรรมพร้อมด้วยพระเณรแจกสิ่งของวัดที่ถูกน้ำท่วม การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

การคาดการแนวโน้มสถานการณ์ สถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูลซึ่งไหลผ่าน ตัวจังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำ(วันที่ 20 ส.ค.2560 เวลา 06.00 น.) ณ สถานี M7 (บริเวณสะพานเสรีฯ) วัดระดับน้ำได้ +112.84 ม.รทก. ระดับน้ำลดลงจากเมื่อวาน 2 ซม. อัตราการไหล 2,804 ลบ.ม/วินาที สถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูล สูงกว่าตลิ่ง 84 ซม.ปัจจุบันระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีปัจจัยเสริม เช่น เกิดพายุ หรือฝนตกหนักในระยะนี้ สถานการณ์จะคลี่คลายและจะเข้าสู่สภาวะปกติตามลำดับ