จดหมายเหตุ น้ำท่วมใหญ่อุบลราชธานี ปี 2562
ตั้งแต่วันที่ 26-29 สิงหาคม 2562 จังหวัดอุบลราชธานีได้รับอิทธิพลจาก ร่องมรสุม สู่หย่อมความกดอากาศต่ำ วันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ร่องมรสุม พายุดีเปรสชั่น “โพดุล” และวันที่ 2-4 กันยายน 2562 ได้รับอิทธิพลพายุโซนร้อน คาจิกิ ทําให้มีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง สถานการณ์ดังกล่าว ทําให้เกิดปริมาณน้ำสะสมเป็นจํานวนมาก บางพื้นที่เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่
ระดับน้ำที่สถานี M7 บริเวณสะพานเสรีประชาธิปไตย ขึ้นถึงระดับตลิ่งที่ +112 ม.ทรก. เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2562 และระดับน้ำขึ้นสูงสุด วัดได้ +115.97 ม.รทก. เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 สูงจากระดับตลิ่งเกือบ 4 เมตร จากนั้นจึงค่อยๆ ลดระดับลงจดถึงระดับตลิ่งที่ +112 ม.รทก. ในวันที่ 3 ตลุาคม 2562 รวมเป็นระยะเวลา 1 เดือนเต็ม
การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขัง มีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ โดยกรมชลประทาน จํานวน 313 เครือง และติดตั้งเรือผลักดันน้ำ โดยกรมอู่ทหารเรือ อีกจำนวน 53 ลํา
จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยทั้งหมด 25 อําเภอ 184 ตําบล 1,724 หมู่บ้าน บ้านเรือน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 18,790 หลัง ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 42,383 ครัวเรือน 159,392 คน อพยพ 21,691 คน
มีผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยครั้งนี้ 5 ราย ได้แก่
1) นายสมร สู่ขวัญ อายุ 67 ปี อําเภอกุดข้าวปุ้น
2) นายพันธ์ เยี่ยมโกศิลป์ อายุ 48 ปี อําเภอตาลุสม
3) นางฉวีวรรณ นางาม อายุ 53 ปี อําเภอม่วงสามสิบ
4) นายอาทิตย์ ยอดพันธ์ อายุ 27 ปี อําเภอเขื่องใน
5) นายพาพร ทาทอง อายุ 33 ปี อําเภอวารินชําราบ
6) เด็กหญิง รัชฎา ดาญาน อายุ 14 ปี อําเภอวารินชําราบ
พื้นที่การเกษตร ได้รับผลกระทบ จํานวน 639,556 ไร่ ประมง 7,645,556 ไร่ 35,622 ตรม.โค กระบือ แพะ แกะ 19,103 ตัว สัตว์ปีก 83,578 ตัว มีจุดอพยพสัตว์ 4 แห่ง ได้แก่ อำเภอวารินชําราบ 2 แห่ง อําเภอสว่างวีระวงศ์ 1 แห่ง และอําเภอเมืองอุบลราชธานี 1 แห่ง
ถนน 107 สาย สะพาน 32 สาย ฝาย 3 แห่ง วัด 148 แห่ง โรงเรียน 156 แห่ง รพ.สต. 11 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 70 แห่ง สถานที่ราชการ 13 แห่ง
ในการนี้ ได้รับความช่วยเหลือ ถุงยังชีพพระราชทาน จํานวน 18,460 ชุด เงินพระราชทาน 100,000 บาท ดังนี้
1) องคมนตรีร่วมกับมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จํานวน 5,000 ชุด (อําเภอดอนมดแดง, ตระการพืชผล, ม่วงสามสิบ, พิบูลมังสาหาร, เมืองอุบลราชธานี, เขื่องใน, ตาลสุม, สว่างวีระวงศ์ และอําเภอวารินชําราบ)
2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จํานวน 1,000 ชุด (อําเภอสว่างวรีระวงศ์)
3) สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จํานวน 1,060 ชุด (อําเภอเมืองอุบลราชธานี และอําเภอวารินชําราบ)
4) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จํานวน 4,000 ชุด (อําเภอดอนมดแดง, ตระการพืชผล,พิบูลมังสาหาร เมืองอุบลราชธานี และอําเภอวารินชําราบ)
5) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินวัณณวรีนารีรัตราชกัญญา จํานวน 500 ชุด และทรงมอบเงิน พระราชทานจํานวน 100,000 บาท พร้อมด้วยอาหารสุนัขและแมวพระราชทาน จํานวน 250 ถุง ( อําเภอเมือง อุบลราชธานี และอําเภอวารินชําราบ)
6) มูลนิธิ มิราเคิลออฟไลฟ์ จํานวน 500 ชุด (อําเภอตระการพืชผล)
7) มูลนิธิ TO BE NUMBER ONE จํานวน 2,000 ชุด (อําเภอชําราบ เมืองอุบลราชธานี และอําเภอ ม่วงสามสิบ)
นอกจากนี้ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ระดมความช่วยเหลือจากส่วนราชการ ทหาร ตํารวจ พลเรือน ฝ่ายปกครอง อําเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิ การกุศลได้จัดส่ง กําลังพล 2,210 นาย ถุงยังชีพ จํานวน 48,527 ชุด ยารักษาโรค 1,300 ชุด น้ำดื่ม 34,455 แพ็ค พร้อมเครื่องอุปโภค บริโภค เรือท้องแบน จํานวน 130 ลำ เรือพลาสติก 200 ลำ เต็นท์ 105 หลัง ห้องสุขา 24 หลัง ถังน้ำ 28 ถัง เสื้อชูชีพ 629 ตัว เครื่องสูบน้ํา 35 เครื่อง รถบรรทุก 73 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 4 คัน รถสุขา 13 คัน