รมต.มหาดไทย ยกระดับจัดการสารธารณภัย 4 จังหวัด
วันที่ 20 กันยายน 2562 พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ประกาศยกระดับการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) ในท้องที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงมีความรุนแรง ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ของประชาชนเป็นอย่างมาก
จากอิทธิพลของร่องมรสุมอาจส่งผลให้ ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับ ข้อมูลของสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ และกรมชลประทาน ซึ่งเห็นว่าสถานการณ์น้ําในแม่น้ําชี และแม่น้ํามูล มีระดับลดลงแต่ยังคงล้นตลิ่ง สอดคล้องกับความเห็นเชิงพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ว่าสถานการณ์อุทกภัย ในพื้นที่เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง และสถานการณ์ยังมีความรุนแรงต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้บัญชาการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ.2550 ประกอบแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 มีประกาศดังนี้
1. ยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) ตามแผนการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558
2. ให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะผู้อํานวยการกลาง ดําเนินการและ ปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ตลอดจนอํานวยการ ประสานการปฏิบัติ ประเมินสถานการณ์ ติดตาม เฝ้าระวัง วิเคราะห์สถานการณ์ รายงาน และเสนอความคิดเห็น ต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อพิจารณาสั่งการเชิงนโยบาย
3. จัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ขึ้น ณ ศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต 13 อุบลราชธานี โดยมีนายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้กํากับควบคุมพื้นที่ (Area Command) ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีผู้ตรวจราชการ กระทรวงมหาดไทย พร้อมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือประชาชน
4. กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จัดตั้งส่วนสนับสนุนการปฏิบัติงาน ในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) ตามที่ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เห็นสมควร และให้ประสาน การให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย โดยมีหน่วยงานตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ พ.ศ.2558 ตลอดจนหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนประชาชน จิตอาสา เร่งดําเนินการให้ความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยเร็ว และเมื่อ สถานการณ์ในพื้นที่คลี่คลาย จะเร่งสํารวจความเสียหายในด้านต่าง ๆ อาทิเช่น ด้านชีวิต ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการประกอบอาชีพ สิ่งสาธารณประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น เพื่อทําการฟื้นฟูให้ประชาชนสามารถ กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า การยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นระดับ 3 ในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว เพื่อให้เกิดการประสานและบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงาน ทั้งในระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติในพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา เน้นย้ำว่า ขอให้ทุกหน่วยงานน้อมนำพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง คิดปรับแนวทางแผนเผชิญเหตุทั้งในภาพรวมและเฉพาะเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนรวบรวมความเสียหาย ประมาณการ ต่อยอด เตรียมการสิ่งใหม่ๆ และสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ เพื่อลดผลกระทบบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน อย่างเต็มกำลังความสามารถ