ข้อคิดเห็นของ ผวจ.อุบลฯ แนวทางการจัดการภัยน้ำท่วมอย่างยั่งยืน
ตามที่ผู้แทนสหเครือข่ายในจังหวัดอุบลราชธานี มอบข้อเสนอแนวทางการจัดการภัยน้าท่วมอย่างยั่งยืนจังหวัดอุบลราชธานี ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมเจ้าค้าผง ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี นั้น
นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่องแนวทางการจัดการภัยน้าท่วมอย่างยั่งยืนจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้
1. ข้อเสนอนี้ ควรอยู่ในแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการทุกระดับในจังหวัด
2. ควรมีผู้จัดการศูนย์อพยพประชาชน
3. ควรมีครัวกลางประจำศูนย์อพยพของผู้ประสบภัย เช่น จัดตั้งที่วัดในชุมชนนั้น ๆ
4. การจัดการในเรื่องอุทกภัย ต้องจัดการรายชุมชนอย่างเหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน
5. ควรมีคลังกลาง เพื่อรับบริจาคและดูแลของรับบริจาค
6. ศูนย์พักพิงควรอยู่ใกล้พื้นที่อยู่อาศัยเดิมของประชาชนผู้ประสบภัย ภายใต้การดูแลของ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
7. ควรมีศูนย์พักพิงแบบแพลอยน้า ขึ้นลงได้ตามระดับน้า หรือบ้านทรงสูง หรือศูนย์อพยพที่ใช้ solar cell
8. จังหวัดอุบลราชธานีมีลักษณะเป็นผังเมืองปลายน้า เหมือนอยุธยา ควรมีการจัดระบบเกี่ยวกับผังเมือง ระบบผังเมืองและการบังคับใช้ผังเมืองอย่างเข้มงวด
9. ควรมีการจัดการระบบสาธารณูปโภคในระยะน้ำท่วม และใช้ประโยชน์จากน้ำท่วม
10. ต้องวางแผนในการแก้ปัญหาภัยแล้ง การเก็บน้าฝนไว้ใช้ประโยชน์ โดยบูรณาการทั้ง งบประมาณ ระบบงาน ระบบการจัดการและบุคลากร
11. ถ้าทำสาเร็จ จังหวัดอุบลราชธานีจะเป็นจังหวัดตัวอย่างของ model ในการแก้ปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบ
12. ควรมีกองทุนจัดการน้ำของจังหวัดอุบล หรือพื้นที่น้ำท่วม
13. เพิ่มคณะทำงานที่สหเครือข่ายเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปในโครงสร้างคณะกรรมการจังหวัดที่มีอยู่เดิมแล้ว
14. ควรมีแอพพลิเคชั่นแจ้งเตือนภัยพิบัติ เช่น แอพพลิเคชั่นพ้นภัย แอพพลิเคชั่นของกาชาดอุบลราชธานี และระบบเตือนภัยที่ดีที่สุดคือ คน/เครือข่ายเฝ้าระวังอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี
15. ยังมีการบุกรุกพื้นที่รับน้าของประชาชนบางกลุ่ม
16. ในอนาคต ควรมีระบบการจัดการน้ำสาขาของแม่น้าโขง ชี มูล ของจังหวัดอุบลราชธานี
17. ควรมีการซ้อมแผนอพยพภัยพิบัติให้กับประชาชน
18. มอบกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาการมีแผนป้องกันภัยแล้งและอุทกภัย
19. ควรมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (น้ำท่วม /น้ำแล้ง/น้ำเสีย)