guideubon

 

พบกระทิงป่า ในอุทยานแห่งชาติผาแต้ม คาดข้ามมาจากฝั่ง สปป.ลาว

กระทิงป่า-ผาแต้ม-โขงเจียม-อุบล-01.jpg

ผู้ใหญ่บ้านดงนา อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี พบกระทิงป่าในเขตอุยานแห่งชาติผาแต้ม ถ่ายภาพไว้ได้จำนวน 2 ภาพ ก่อนเข้ามาแจ้งเจ้าหน้าที่ที่อุทยาน ด้านทีมผู้เชี่ยวชาญและสัตวแพทย์ รอยเท้าจำนวนหลายรอย  มีมากกว่า 2-3 ตัว หัวหน้าอุทยานฯ เตือนกระทิงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ห้ามชาวบ้านไปทำร้าย หรือรบกวนเด็ดขาด

นายนครินทร์ สุทัตโต หัวหน้าอุทยาแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี เปิดเผยว่า เมื่อช่วงวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ตนได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้านดงนา อ.โขงเจียม ว่าได้พบกระทิงป่าในเขตอุยานแห่งชาติผาแต้ม ขณะที่ขับรถจากหมู่บ้านดงนามา ที่บ้านดงหลวง โดยช่วงที่ออกมาเป็นป่าก่อนที่จะถึงถนนลาดยาง ผู้ใหญ่บ้านก็สังเกตเห็นกระทิงอยู่ข้างทาง จึงได้ถ่ายภาพไว้ได้จำนวน 2 ภาพ จากนั้นก็เข้ามาแจ้งเจ้าหน้าที่ที่อุทยาน

กระทิงป่า-ผาแต้ม-โขงเจียม-อุบล-02.jpg

ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบภาพถ่ายแล้วพบว่า เป็นกระทิงป่าจริง อุทยานจึงได้ประสานไปยังสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 อุบลราชธานี นำทีมผู้เชี่ยวชาญ และสัตวแพทย์ขึ้นมาตรวจสอบเทียบตำแหน่งกับภาพถ่ายที่ได้ว่าเป็นตำแหน่งใน พื้นที่เดียวกันหรือไม่ จากการตรวจสอบพื้นที่พบว่าเป็นตำแหน่งที่กล่าวอ้างจริง และอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม โดยมีรอยเท้าจำนวนหลายรอย ซึ่งเป็นรอยเท้าชัดเจน สัตวแพทย์จึงได้ทำการรังวัดรอยเท้า ความสูง ตรวจสอบร่องรอยการเคลื่อนตัวของกระทิงที่พบเคลื่อนตัวไปสิ้นสุดที่ลำห้วยอีก ด้านของถนน เบื้องต้นสัตวแพทย์ยืนยันว่ารอยเท้าที่พบมีมากกว่า 2-3 ตัว เนื่องจากรอยเท้าที่แตกต่างกัน ถือเป็นนิมิตหมายอันดี เนื่องจากที่ผ่านมาเราได้ยินแต่คำบอกเล่าจากชาวบ้านอยู่เป็นประจำว่าพบ กระทิงป่า แต่ไม่หลักฐานยืนยันเช่นครั้งนี้

กระทิงป่า-ผาแต้ม-โขงเจียม-อุบล-03.jpg

นายนครินทร์ สุทัตโต หัวหน้าอุทยาแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี กล่าวอีกว่า สำหรับกระทิงป่าในผาแต้ม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ไม่มีผู้ที่พบเห็นมานานมากแล้ว โดยกระทิงป่าที่เคยพบส่วนมากจะพบหน้าแล้งคาดว่าจะเป็นกระทิงป่าที่ข้ามมาจาก ฝั่ง สปป.ลาว โดยต่อไปทางอุทยานฯ จะได้มาตรการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านพื้นที่ทราบว่ากระทิงป่าเป็นสัตว์ป่า คุ้มครองประเภทที่ 1 ห้ามไปทำร้าย หรือรบกวนเด็ดขาด หากฝ่าฝืนมีโทษถึงขั้นจำคุก นอกจากนี้ จากนี้ทางอุทยานฯ และก็จะดำเนินการสร้างโป่งเทียมให้เป็นแหล่งอาหารดึงดูดกระทิงให้ข้ามาเป็น ประจำทุกปี หรือชักจูงให้กระทิงป่าอยู่ในพื้นที่ต่อไป

ขอบคุณภาพ/ข่าว จาก ไทยรัฐออนไลน์