guideubon

 

 

รมต.เกษตรฯ ปิ๊งไอเดีย ดึงภาคเอกชนมาทำประกันเยียวยาเกษตรกร

ทำประกันเกษตรกร-01.jpg

วันที่ 30 กันยายน 2566 ร้อยเอกธรรมนัส  พรหมเผ่า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายไชยา  พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายเกรียง  กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและตรวจเยี่ยมให้กำลังใจพร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยพื้นที่ อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ

โดยขณะนี้จังหวัดอุบลราชธานี  ประสบปัญหาอุทกภัย 9 อำเภอ   56  ตำบล 296  หมู่บ้าน 10,572 ครัวเรือน ประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) 5 อำเภอ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่า  นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีความห่วงใยประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล ซึ่งจะเกิดน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี  ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน  ที่สำคัญคือการระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด

ทำประกันเกษตรกร-02.jpg

สำหรับความเสียหายด้านพื้นที่การเกษตร ให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งสำรวจความเสียหาย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ริเริ่มความคิดใหม่ เนื่องจากเป็นภาระรัฐบาลในการหางบประมาณมาเยียวยาจากภัยต่างๆที่เกิดขึ้น  ดังนั้นจะดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำประกัน ใช้งบไม่มากแต่ครอบคลุมเกษตรกรได้ทั่วประเทศ

ทำประกันเกษตรกร-04.jpg

กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี รายงานสถานการณ์อุทกภัย จประจำวันที่ 30 กันยายน 2566 แม่น้ำมูล สถานีวัดน้ำที่ M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย ระดับตลิ่งอยู่ที่ 112.00 ม.รทก. หรือ 7 เมตร

ระดับน้ำวันนี้อยู่ที่ 112.70 ม.รทก. หรือระดับ 7.70 เมตร เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 0.06 เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.70 เมตร อัตราการไหลอยู่ที่ 2,718 ลบ.ม./วินาที

จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝนตกถึงตกหนักในบางพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียง ก่อให้เกิดสถานการณ์น้ำเอ่อลันตลิ่งไหลเข้าท่วมบริเวณที่ลุ่มต่ำ บ้านเรือนที่ อยู่อาศัย ของประชาชน จำนวน 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ ม่วงสามสิบ เดชอุดม ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน และอำเภอตาลสุม จำนวน 57 ตำบล 298 หมู่บ้าน/ชุมชน 10,641 ครัวเรือน ศูนย์พักพิงชั่วคราว 18 จุด แยกเป็น

ด้านการดำรงชีพ ได้ รับผลกระทบตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2566 จำนวน 2 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ จำนวน 4 ตำบล 28 ชุมชน/หมู่บ้าน 982 ครัวเรือน 3,457 คน ราษฎรอพยพ 22 ชุมชน 364 ครัวเรือน 1,290 คน แยกเป็น ศูนย์พักพิงชั่วคราว 18 จุด 329 ครัวเรือน 1,198 คน พักบ้านญาติ 35 ครัวเรือน 92 คน

ด้านการเกษตร
- ด้านพืช ได้รับผลกระทบตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 จำนวน 9 อำเภอ ได้แก่อำเภอม่วงสามสิบ วารินชำราบ เมืองอุบลราชธานี เดชอุดม ตระการพีชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน และอำเภอตาลสุม จำนวน 53 ตำบล 272 หมู่บ้าน 9,415 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย จำนวน 66,535 ไร่
- ด้านประมง ได้รับผลกระทบตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2566 จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่อำเภอดอนมดแดง่ ม่วงสามสิบ และอำเภอเขื่องใน 4 ตำบล 7 หมู่บ้าน 37 ครัวเรือน พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย จำนวน 25.70 ไร่ 978 ตรม.
- ด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2566 จำนวน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ ตระการพืชผล และอำเภอม่วงสามสิบ 8 ตำบล 25 หมู่บ้าน 244 ครัวเรือน สัตว์ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 10,506 ตัว อพยพสัตว์ 10,445 ตัว แปลงหญ้าได้รับความเสียหาย 71 ไร่

จังหวัดอุบลราชธานี ได้ประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) แล้ว จำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอม่วงสามสิบ วารินชำราบ เมืองอุบลราชธานี ตระการพืชผล และอำเภอเหล่าเสือโก้ก

ทำประกันเกษตรกร-03.jpg

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511