ผู้ว่าฯอุบลฯ ลุยงานวันแรก พบผู้ชุมนุมเขื่อนสิรินธรและปากมูล
วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ภายหลังจากที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
วันแรกที่เดินทางถึงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย ผศ.จุรีรัตน์ กอเจริญยศ นายกเหล่ากาชาด จ.อุบลราชธานี ลงพื้นที่เยี่ยม ให้กำลังใจผู้ชุมชน ซึ่งเป็นชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาการสร้างเขื่อนสิรินธร ที่ บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ทักทายกลุ่มผู้ชุมชนอย่างเป็นกันเอง และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ชุมชนอย่างเต็มที ซึ่งผู้ชุมนุมพอใจ และได้ปรบมือขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี สำหรับข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมชน คือ ต้องการให้รัฐชดเชยที่ดินทำกิน
จากนั้น นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย ผศ.จุรีรัตน์ กอเจริญยศ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี ,หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ตำบลแจระแม อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยมี นายวรพันธ์ ชำนิยันติ์ นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี ,นางสาวกัลยา ลักษณะงาม นายกเทศมนตรีเมืองแจระแม รายงานสถานการณ์ ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ พร้อมทั้ง ได้ร่วมกัน มอบน้ำดื่มสะอาด จากสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 11 (อุบลราชธานี) โดยศูนย์อำนวยการและประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อุบลราชธานี ถุงยังชีพ ยาเวชภัณฑ์ ข้าวสารอาหารแห้ง ซึ่งผู้อพยพ ในศูนย์อพยพแห่งนี้ มาจาก ชุมชนบ้านท่าบ่อ หมู่ 2 จำนวน 11 ครัวเรือน / ชุมชนบ้านทัพไทย หมู่ 7 จำนวน 11 ครัวเรือน
ทั้งนี้ เทศบาลเมืองแจระแม ได้มีการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ที่อาคารฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองแจระแม เพื่อเตรียมการให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชัวโมง ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2566 และให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ทั้งการติดตั้งเต้นท์ที่พักอาศัยชั่วคราวพร้อมติดตั้งไฟฟ้า จำนวน 22 หลัง ถังน้ำอุปโภค – บริโภค จำนวน 5 ถัง และยังได้ดำเนินการอพยพราษฎรที่ประสบอุทกภัย ไปพักอาศัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวต่างๆ แล้ว จำนวน 14 จุด รวมทั้งสิ้น จำนวน 2 ตำบล 9 ชุมชน 3 หมู่บ้าน 171 ครัวเรือน 605 คน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวสวนสาธารณะห้วยม่วง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รับฟังรายงาน สถานการณ์อุทกภัย โดย นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี และ มอบสิ่งของ พบปะเยี่ยมให้กำลังใจ ผู้อพยพ ซึ่งศูนย์พักพิงแห่งนี้ มีผู้อพยพ มาจาก ชุมชนวังแดง และ ชุมชนวัดป่าแสนอุดม จำนวนรวมกันทั้งสิ้น 23 ครัวเรือน โดย เทศบาลนครอุบลราชธานี ได้มีการจัดตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์น้ำท่วม ที่ อาคารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ตึกดับเพลิง) เทศบาลนครอุบลราชธานี ให้การบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัย ทั้งการจัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาล ,ติดตั้งเต็นท์ที่พักอาศัยพร้อมระบบไฟฟ้า ,ถังน้ำ อุปโภค-บริโภค ,ตู้สุขาเคลื่อที่ ,กระสอบทราย ,เรื่อพลาสติกท้องแบน ,เตียงนอนผู้ประสบภัย พร้อม ได้รับสนับสนุนเต็นท์จาก ปภ.เขต 13 โดยข้อมูลผู้ประสบภัยในพื้นที่เทศบาลนครอุบลราชธานี ล่าสุด ได้รับผลกระทบ 12 ชุมชน 420 ครอบครัว 1,595 คน
จากนั้น ได้เดินทางไปยัง จุดประตูระบายน้ำชุมชนท่ากอไผ่ เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดย รับฟังรายงานสถานการณ์โดย นายจีระชัย ไกรกังวาร นายกเทศมนตรีเมืองวารินชำราบ ,นายกันตภณ สุขสงค์ นายอำเภอวารินชำราบ และ นายเศรษฐพงศ์ ภิงคารวัฒน์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 7 โดย สถานการณ์ของพื้นที่ชุนชนท่าก่อไผ่ ได้รับผลกระทบ ระดับน้ำในแม่น้ำมูลล้นตลิ่ง เชข้ามาในพื้นที่ สำนักงานชลประทานที่ 7 จึงได้นำ เครื่องสูบน้ำขนาด 4 นิ้ว 1 เครื่อง และขนาด 3 นิ้ว 1 เครื่อง มาติดตั้ง และ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมทั้ง ยังได้นำกระสอบทรายจากเทศบาลเมืองวารินวารินชำราบ มาวางกั้นมวลน้ำ สืบเนื่องจากสถานการณ์น้ำแม่น้ำมูลที่เอ่อล้นตลิ่งฝั่งวารินชำราบในปัจจุบัน ส่งผลให้ระดับน้ำสูงกว่าแนวชุมชนท่ากอไผ่ ซึ่งพื้นที่ชุมชนบริเวณดังกล่าวเป็นจุดฟันหลอไม่มีพนังกั้นน้ำ ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าภายในพื้นที่ชุมชนไปส่วนหนึ่งแล้ว ณ ปัจจุบันระดับน้ำเริ่มทรงตัว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง
ทั้งนี้ ระดับน้ำแม่น้ำมูล ณ สถานีวัดน้ำ M7 เชิงสะพานเสรีประชาธิปไตย มีระดับน้ำลดลงครั้งแรกในรอบเดือน นับเป็นแนวโน้มที่ดี โดยพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบน้ำเอ่อลันตลิ่งไหลเข้าท่วมบริเวณที่ลุ่มต่ำ บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง วารินชำราบ ม่วงสามสิบ ตระการพืชผล เหล่าเสือโก้ก ดอนมดแดง เขื่องใน และตาลสุม จำนวน 57 ตำบล 352 หมู่บ้าน/ชุมชน 12,934 ครัวเรือน ศูนย์พักพิงชั่วคราว 20 จุด