เอไอเอสนำดิจิทัลเสริมศักยภาพ ผ่านแนวคิด “Digital For Thais”
เอไอเอส มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 จัดแถลงข่าว AIS “Digital For Thais” พัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ต่อสื่อมวลชนจังหวัดอุบลราชธานี ที่ร้านแซบซอย 9 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา
นายพงษ์ศักดิ์ ตันวิสุทธิ์ หัวหน้าส่วนงานดิจิทัลฟอร์ไทย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กล่าวว่า “เอไอเอส ในฐานะที่มีโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคมครอบคลุมทั่วประเทศ จึงมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมดิจิทัลไปช่วยเสริมความแข็งแรงในรากฐานหลักของประเทศ ผ่านแนวคิด “Digital For Thais” โดยนำดิจิทัลเข้าไปเพิ่มศักยภาพ สร้างโอกาสการเข้าถึงและความเท่าเทียมกันของเทคโนโลยีไปสู่ประชาชน เพื่อขับเคลื่อนประเทศก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานหลัก 4 ด้านที่เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ ทั้งด้านการศึกษา การเกษตร สาธารณสุข และธุรกิจสตาร์ทอัพ
โดยเอไอเอสได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนไทยได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งวิชาการและสาระบันเทิง ในโครงการ “สานรัก สานความรู้” ด้วยการติดตั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและมอบกล่อง AIS สานรัก สานความรู้ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นดิจิทัลคอนเท้นต์ต่างๆ ที่ครบทั้งสาระ ความรู้และความสนุกสนาน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่เด็กและเยาวชนให้ก้าวทันโลกอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบัน ได้ติดตั้งกล่องสานรักสานความรู้ให้กับโรงเรียนต้นแบบไปแล้ว จำนวน 34 แห่งทั่วประเทศ
ด้านการเกษตร เอไอเอส ได้นำส่งเสริมการทำงานของเกษตรกรให้ก้าวไปสู่เกษตรกร 4.0 ด้วยแนวคิด “สอน เสริม สร้าง” ผ่านแพลตฟอร์มฟาร์มสุข เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลสำคัญในการทำการเกษตร คลังความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ รวมถึงข้อมูลด้านการพยากรณ์อากาศที่มีความความแม่นยำสูง เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตของเกษตรกรให้สูงขึ้น รวมทั้งยังได้พัฒนาแพลทฟอร์มร้านฟาร์มสุข เพื่อเป็นช่องทางการตลาดออนไลน์ให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป รวมถึงสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชน หรือ OTOP ขณะนี้ ร้านฟาร์มสุขมีร้านค้า จำนวน 310 ร้านค้า มีจำนวนสินค้า 1,650 รายการ
นอกจากนี้ ยังได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมการทำงาน ด้านสาธารณสุข โดยสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสังคมไทย “แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์” เครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะกลุ่ม เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารในการปฎิบัติงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกของหน่วยบริการสุขภาพ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่มผ่านรูปแบบการแจ้งข้อมูล การสนทนา ทำให้สมาชิกในเครือข่ายสามารถรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวด้านสาธารณสุขชุมชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ที่สำคัญแอปฯอสม.ออนไลน์ สามารถใช้งานได้กับทุกเครือข่าย แต่เมื่อใช้งานบนเครือข่ายเอไอเอสจะไม่เสียค่าบริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบัน หน่วยบริการสุขภาพและรพ.สต.เปิดใช้งานแอปฯอสม.ออนไลน์แลัว จำนวน 2,264 แห่งทั่วประเทศ และมีผู้ใช้งานจำนวน 38,687 คน โดยในปีนี้จะขยายการใช้งานแอปฯอสม.ออนไลน์ ไปยังระดับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด และสาธารณสุขอำเภอ ด้วยการสร้างต้นแบบการใช้งานในพื้นที่ต่างๆ
สำหรับธุรกิจสตาร์อัพ เอไอเอส ได้ร่วมส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมถึงผู้ประกอบการในระดับชุมชน โดยนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่างๆเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ และพัฒนาสินค้าให้เติบโตในเชิงธุรกิจทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้เปิด AIS The StartUp ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไปยังระดับท้องถิ่น ซึ่งการส่งเสริมกลุ่มสตาร์อัพอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดข้อจำกัดในการสร้างธุรกิจให้กลุ่มสตาร์ทอัพได้มีโอกาสเติบโตมากยิ่งขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์คอนเทนต์และบริการดิจิทัลออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง”
ด้านนายอุดมศักดิ์ โสมคำ หัวหน้าส่วนงานปฎิบัติการภูมิภาค - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เอไอเอส กล่าวว่า “ทางสำนักงานภาคฯ ได้ขยายโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อรองรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้ง 4 ด้านให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยด้านการศึกษา ได้มุ่งเน้นการขยายโอกาสให้แก่โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านโครงการสานรัก สานความรู้ โดยได้ติดตั้งกล่องสานรัก สานความรู้ให้แก่โรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 2 โรงเรียน, ร้อยเอ็ด 2 โรงเรียน, ชัยภูมิ 1 โรงเรียน และบึงกาฬ 1 โรงเรียน เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเหล่านี้ได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์และเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน
สำหรับด้านการเกษตร เอไอเอส ได้ส่งเสริมเกษตรกรในท้องถิ่นให้เป็นเกษตรกร 4.0 โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและศักยภาพขององค์กรไปเพิ่มพูนความรู้และสร้างช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ผ่านร้านฟาร์มสุข โดยขณะนี้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีร้านค้านำสินค้ามาจำหน่ายบนร้านฟาร์มสุข จำนวน 47 ร้านค้า มีสินค้า จำนวน 218 รายการ
ด้านสาธารณสุข การให้บริการสาธารณสุขชุมชนในพื้นที่ห่างไกลเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ ให้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่าง รพ.สต.และ อสม.จะช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ทำให้สามารถป้องกัน และเฝ้าระวังโรคระบาดในพื้นที่ได้รวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการเปิดใช้แอปฯอสม.ออนไลน์แล้ว จำนวน 767 แห่ง และมีหน่วยบริการสุขภาพและรพ.สต.ในจังหวัดอุบลราชธานี เปิดใช้งานแล้ว จำนวน 65 แห่ง
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเครือข่ายอสม.ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก้าวไปสู่ อสม.4.0 สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปใช้ในระบบการทำงานด้านสาธารณสุข
สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ นั้น เอไอเอส ได้เตรียมความพร้อมด้านเครือข่าย รวมถึงไอทีแพลตฟอร์ม และโซลูชั่นส์ต่างๆ ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอสที่พร้อมให้คำแนะนำ และสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ที่สนใจเข้าร่วมเป็นดิจิทัลพาร์ทเนอร์กับครอบครัว AIS The StartUp ซึ่งสามารถสมัครผ่านทาง www.ais.co.th/thestartup ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ เอไอเอส พร้อม สนับสนุนแนวคิดที่สร้างสรรค์และไอเดียของกลุ่มผู้สนใจเหล่านี้ให้เป็นความจริง
“สิ่งเหล่านี้ คือความมุ่งมั่นของชาวเอไอเอส ที่จะนำขีดความสามารถทั้งแรงกาย แรงใจ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ไปร่วมสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศมีความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะก้าวสู่ ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป”