เปิดงานเทศกาลหอมข้าวใหม่ปลามัน ชั้น G สุนีย์ทาวเวอร์ อุบลฯ
วันที่ 8 ธันวาคม 2561 นายเฉลิมพล มั่งคั่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานกล่าวเปิด งานเทศกาลหอมข้าวใหม่ปลามัน อุบลราชธานี ครั้งที่ 1 “หอมกรุ่นจากทุ่งนา ละลานตาอาหารพื้นบ้าน จากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค” ระหว่างวันที่ 8 - 16 ธันวาคม 2561 ณ ลานกิจกรรม ชั้น G สุนีย์ทาวเวอร์ อุบลราชธานี
การจัดงานในครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ฟรีให้เกษตรได้นํา ข้าวใหม่และผลผลิตทางการเกษตรมาจําหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง โดยการสร้างมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร การนําเสนอวิถีชีวิตความ เป็นอยู่พื้นบ้าน เพื่อให้เห็นถึงความสําคัญของข้าวใหม่ของเกษตรกรชาว จังหวัดอุบลราชธานี ว่ามีความอร่อยไม่แพ้ที่ใด
ข้าว ถือเป็นแหล่งอาหารหลักที่สําคัญของโลก ทั้งนี้ประเทศไทย มีการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคมายาวนานกว่า 5,000 ปี มีความผูกพัน กับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ข้าว จึงกลายมา เป็นส่วนหนึ่งของประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิต โดยคนไทยบริโภคข้าวอย่างมีระเบียบวิธี และมีลักษณะเฉพาะ เช่น กระบวนการแปรรูป ข้าวเพื่อการปริโภค โดยการให้ข้าวสุกด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การหุงต้ม การนึ่ง การหลาม เป็นเหตุให้การใช้ภาชนะที่แตกต่างกัน รวมถึงการประกอบอาหารที่ใช้รับประทานคู่กับข้าว ก็ได้รับการเอา ใจใส่ คิดค้น จึงเกิดเป็นวัฒนธรรมที่ควบคู่กัน จนมีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อหลายอย่างตกทอดมาถึงทุกวันนี้ อาทิ ความ เชื่อเรื่อง “ พระแม่โพสพ” ที่ชาวนาเชื่อกันว่าเป็นเทพธิดาที่ปกปักษ์ รักษาข้าว การเคารพบูชาจะทําให้ผลิตผลอุดมสมบูรณ์ มีการทํา พิธี “ แห่นางแมว” หรือ “ บุญบั้งไฟ” เพื่อขอให้ฝนฟ้าตกต้อง ตามฤดูกาล
วิถีชีวิตผู้คนในสังคมเกษตรคือ ทํางานหนักในช่วงฤดูเพาะปลูก จับปลา หาผัก เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ เพื่อหาอยู่หากิน เมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว แล้วก็จะถือเป็นฤดูแห่งการเฉลิมฉลอง ซึ่งมักจะเกิดตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายน ยาวไปถึงปีใหม่ จึงมักมีคําพูดว่า “ หอมข้าวใหม่” ที่เป็นทั้งคําพูด เป็นกลิ่นหอม เป็นประเพณี และเป็นฤดูกาล ชาวนาเรา ได้ฟูมฟักต้นข้าวจากเมล็ดสู่ความหมายมากมายยิ่งนัก ซึ่งเป็นที่น่า เสียดายว่าคนในเมืองหรือคนรุ่นใหม่ ไม่รู้ถึงคุณค่าของข้าวใหม่
ถือเป็นโอกาสอันดีที่ในปี 2561 จังหวัดอุบลราชธานีได้เกิด งานเทศกาล ข้าวใหม่ปลามัน อุบลราชธานี ครั้งที่1 ขึ้นที่ห้างสุนีย์ ทาวเวอร์ โดยเป็นพื้นที่ให้เกษตรกรได้จําหน่ายข้าวใหม่และผลผลิต ทางการเกษตรอื่นๆ เพื่อสร้างคุณค่าและนําเสนอวิถีชีวิตความเป็นอยู่ พื้นบ้าน ข้าวใหม่จึงถือเป็นตัวแทนของวิถีชุชนและธรรมชาติที่เกื้อกูล กันโดยมีพิธีกรรม ประเพณี ความเชื่อและศาสนามาเชื่อมโยง รวมทั้ง เป็นโอกาสของการรําลึกถึงคุณของชาวไร่ ธรรมชาติ ผืนดิน และ สายน้ํา