พ่อเมืองอุบลฯ ให้ถามความเห็นประชาชน เรื่องจังหวัดเขมราษฏร์ธานี
วันที่ 3 ธันวาคม 2561 มีข่าวลือสะพัดทั่วโซเชียลในกลุ่มชาวอุบล เรื่อง การยกฐานะอำเภอเขมราฐขึนเป็นจังหวัดเขมราษฏร์ธานี โดยอ้างอิงถึงหนังสือของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 ถึงนายอำเภอตระการพืชผล อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอโขงเจียม อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอกุดข้าวปุ้นและนายอำเภอนาตาล โดยข้อความในหนังสือ มีดังนี้
ตัวยจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับรายงานจากอำเภอเขมราฐว่า มีความประสงค์จะจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ เป็นจังหวัดเขมราษฎร์ธานี โดยมีอำเภอในเขตการปกครอง จํานวน 7 อำเภอ ประกอบด้วย เขมราฐ ตระการพืชผล ศรีเมืองใหม่ โขงเจียม โพธิ์ไทร กุดข้าวปุ้น และนาตาล
จังหวัดอุบลราชธานี่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หลักเกณฑ์การจัดตั้งจังหวัดใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2524 ต้องจัดทําข้อมูลพื้นฐานในการจัดตั้งจังหวัดใหม่ ประกอบด้วย เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์, จํานวนอำเภอและกิ่งอำเภอ, จํานวนประชากร, รายได้ และความคิดเห็นของประชาชน
ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว มากำหนดเนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จำนวนอำเภอ จำนวนประชากร และรายได้ ในการจัดตั้งจังหวัดใหม่ จึงให้อำเภอดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอำเภอ ตามนัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548 ในประเด็นดังต่อนี้
1. ความต้องการไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเขมราษฎร์ธานี
2. ความต้องการให้จัดตั้ง “จังหวัดเขมราษฎร์ธานี"
โดยให้อำเภอ รายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอำเภอรายงาน ผลการดำเนินการพร้อมเอกสารหลักฐาน ให้จังหวัดอุบลราชธานี ทราบภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561
นอ.เขมราฐ ยื่นขอยกฐานะเป็น จังหวัดเขมราษฎร์ธานี
สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี เดิมเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย กล่าวคือ มีพื้นที่ทั้งหมด 22,686 ตารางกิโลเมตรเศษ แบ่งการปกครองเป็น 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ (มากที่สุดในประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 1,450,000 คน (นับเป็นที่สองรองจากกรุงเทพมหานคร)
พ.ศ.2515 จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติในตอนนั้น ออกประกาศคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 70 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2515 โดยให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว รวม 5 อำเภอ ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี รวมจัดตั้ง เป็นจังหวัดยโสธร ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2515 เป็นต้นไป
ต่อมา ในปี พ.ศ.2536 ขณะนั้นจังหวัดอุบลราชธานี แบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 25 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ รัฐบาลอันมีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศใช้ “พระราชบัญญัติตั้งจังหวัด อำนาจเจริญ พ.ศ.2536” กําหนดให้แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอ เสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออํานาจ ออกจากการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2536 เป็นต้นไป นับเป็นจังหวัดในลําดับที่ 75 ของประเทศไทย
ปัจจุบัน จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ 15,739 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ ต้องคอยดูว่า หากสามารถจัดตั้งจังหวัดเขมราษฏร์ธานีได้จริง จะแบ่งออกไปกี่อำเภอ เป็นเนื้อที่เท่าใด