สกว.หยิบงานวิจัย ดร.คำล่า อจ.ม.อุบลฯ ประเดิมเผยแพร่ฟ้อนกลองตุ้มอุบลฯ
สกว. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร พัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในสาขามานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดกรรมทางวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ผ่านการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆประเดิมผลงานชิ้นแรก คือ การยกระดับความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “โครงการการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัด อุบลราชธานี” โดย ดร.คำล่า มุสิกา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ศาสตราจารย์ นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ ดร.โสมสุดา ลียะวณิช ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ความรู้ จากงานวิจัยในเชิงวิชาการ ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียาภรณ์ เจริญบุตร คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมเป็นเกียรติในงานนี้ด้วย ณ ห้องประชุมศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา
ผู้อำนวยการ สกว. เปิดเผยว่า สกว.ได้สนับสนุนงานวิจัยมาตั้งแต่ปี 2536 จนเกิดผลงานวิจัยจำนวนนับหมื่นโครงการ ทั้งในส่วนของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ งานวิจัยและพัฒนา และงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สกว.จึงมีแนวทางการผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย 5 ด้าน ซึ่งในส่วนของการใช้ประโยชน์เชิงวิชาการนั้น เป็นการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วารสารระดับนานาชาติ ระดับชาติ หนังสือ ตำรา บทเรียน ไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ การเรียนรู้ การเรียน การสอน ในวงนักวิชาการและผู้สนใจ รวมถึงการวิจัยต่อยอดหรือการนำไปสู่ผลิตภัณฑ์และกระบวนการเสริมสร้างนวัต กรรมและเทคโนโลยี
สำหรับความร่วมมือกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในการทำงานด้านวิชาการครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ และการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยในสาขามานุษยวิทยาและสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดกรรมทางวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ผ่านการเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบการจัดพิมพ์หนังสือ นิทรรศการ การจัดประชุมวิชาการ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการทำวิจัยร่วมกัน และพัฒนานักวิจัย
การทำงานชิ้นแรกภายใต้บันทึกความร่วมมือดังกล่าว คือ การยกระดับความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “โครงการการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัด อุบลราชธานี” โดย ดร.คำล่า มุสิกา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งเป็นผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ได้ร่วมกับชาวบ้านสืบค้นรวบรวมภูมิปัญญา พื้นบ้านที่เกือบจะสูญหายไปแล้วจากแผ่นดินอีสาน เพื่อสืบทอด ฟื้นชีวิตให้พิธีกรรม และผลักดันให้กลายเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีชื่อเสียง ในปัจจุบัน
ขณะที่ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ระบุว่าความร่วมมือกันครั้งนี้จะเป็นการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยชาว บ้าน ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ การเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย อ้างอิงได้ทางวิชาการ และสานสัมพันธ์ท้องถิ่นกับสถาบันการศึกษาให้เกิดการเกื้อกูลกันทางวัฒนธรรม ซึ่งการยกระดับความรู้ในเชิงมานุษยวิทยาทางวัฒนธรรมนี้นับเป็นความเชี่ยวชาญ ของศูนย์มานุษยวิทยาที่จะได้มาร่วมกันทำงานในระยะต่อไป โดยคาดว่าจะเกิดผลรูปธรรม ได้แก่ 1. ชุดความรู้จากกระบวนการวิจัยโครงการวิจัยเรื่องการอนุรักษ์พิธีกรรมและการ แต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี 2. โมเดลทางการจัดการพิธีกรรมพื้นบ้านอีสานเพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ 3. ชุดหนังสือเพื่อเผยแพร่ความรู้ในเชิงวิชาการสู่การเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมต่อกับห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social lab) ในชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
ด้าน ดร.คำล่า มุสิกา นักวิจัย สกว. อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลฯ กล่าวว่า ได้ศึกษาพิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้ชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนหากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าและความภาคภูมิใจของคนในชุมชน ให้ร่วมสืบสานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม พิธีกรรม และการแต่งกายในพิธีกรรมดังกล่าว ซึ่งผลจากงานวิจัยสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดอย่างกว้างขวางในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เช่น การแสดงเสียงสีเสียงในงานแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี การแสดงพิธีเปิดและปิดงานสัปดาห์สุขภาพจิต ประจำปี 2552 งานเลี้ยงผู้ร่วมประชุมทางวิชาการ เป็นต้น ตลอดจนการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน และเว็บไซต์ www.guideubon.com ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของจังหวัดอุบลราชธานีไว้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านงานวิชาการในการผลิตเอกสารคำสอนเพื่อเผย แพร่ไปยังโรงเรียน 109 แห่งที่แจ้งความจำนงไว้
เพลิน วิชัยวงศ์ นักประชาสัมพันธ์ ม.อุบลฯ / ข่าว
ข้อมูลข่าว http://www.trf.or.th/
....