guideubon

 

ม.อุบลฯ ลงพื้นที่ รร.นารีนุกูล สอนทำ e-Portfolio ด้วยสมาร์ทโฟน

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-01.jpg

วันที่ 25 ตุลาคม 2562 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงพื้นที่ โรงเรียนนารีนุกูล ให้บริการวิชาการโรงเรียนเครือข่ายและเป็นวิทยากรโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน e-Portfolio สู่ระบบ TCAS ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน” ให้แก่นักเรียนโรงเรียนนารีนุกูล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 620 คน โดยมี นางนิธิวดี วรเดช รองผู้อำนวยการโรงเรียน รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนารีนุกูล เป็นประธานเปิดและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม

จงรักษ์-ผ่องโชติ-01.jpg

นางจงรักษ์ ผ่องโชติ หัวหน้างานแนะแนว โรงเรียนนารีนุกูล กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ได้รับความรู้และฝึกปฏิบัติในการทำแฟ้มสะสมผลงาน e-Portfolio ด้วยสมาร์ทโฟน เพื่อให้นักเรียนรู้จักการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อเป็นการสนองนโยบายรัฐ “Thailand 4.0”

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-02.jpg

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน e-Portfolio สู่ระบบ TCAS ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน” ได้รับเกียรติจาก ดร.สมปอง เวฬุวนาธร รองหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และ นายธวัชชัย สลางสิงห์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน e-Portfolio สู่ระบบ TCAS ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน” 

สมปอง-เวฬุวนาธร-01.jpg

ดร.สมปอง เวฬุวนาธร รองหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีความยินดีที่ทางโรงเรียนนารีนุกูลให้เกียรติเชิญทีมวิทยากรบรรยายพิเศษใน หัวข้อ “การจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน e-Portfolio สู่ระบบ TCAS ด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน”

การใช้แอปพลิเคชั่นในการสร้าง e-Portfolio เป็นส่วนหนึ่งของการประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี เพื่อสนองนโยบายรัฐ “Thailand 4.0” ซึ่งสำคัญต่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบกลาง (TCAS) เนื่องจาก e-Portfolio เป็นแฟ้มสะสมผลงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานง่าย สะดวกในการจัดเก็บและการจัดการ ไม่ต้องลำบากกับการจัดหาแฟ้มเก็บเอกสาร ซึ่งเป็นการเก็บรักษาที่ยุ่งยากและเสี่ยงต่อการชำรุดเสียหาย โดยผู้ตรวจสามารถตรวจแฟ้มสะสมผลงานแบบ e-Portfolio ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย

สำหรับการจัดทำแฟ้มสะสมผลงาน e-Portfolio ทำได้โดยการดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชันประเภท Scanner เช่น Can Scanner, Clear Scanner, Simple Scan, Office Lens เป็นต้น จาก Google Play Store (สำหรับเครื่องสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์) หรือ Apple App Store (สำหรับเครื่องสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการไอโอเอส) ไว้ในเครื่องสมาร์ทโฟน ซึ่งโปรแกรมดังกล่าว สามารถสร้าง e-Portfolio ได้โดยการถ่ายภาพผลงานผ่านตัวแอปพลิเคชั่น หรือ สามารถนำภาพถ่ายผลงานที่มีอยู่แล้วในสมาร์ทโฟนมาปรับแต่งให้อยู่ในรูปแบบของ e-Portfolio ได้อย่างง่ายดายเพียงไม่กี่นาที โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง Scanner

ซึ่งจะทำให้นักเรียนสามารถสะสมผลงานไว้ใน e-Portfolio เพื่อนำไปใช้ในการสมัครเรียนในระบบ TCAS ได้ โดยเฉพาะในรอบที่ 1 นอกจากนี้ e-Portfolio ยังสามารถออกแบบให้สวยงาม และน่าสนใจได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกัน เนื่องจากปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่สามารถช่วยในการออกแบบ ทั้งในสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส เช่น PicsArt, Snapseed, Adobe Photoshop เป็นต้น ซึ่งนักเรียนสามารถดาวน์และติดตั้งมาใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้เลยเช่นกัน


ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-03.jpg

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-04.jpg

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-05.jpg

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-06.jpg

นารีนุกูล-e-Portfolio-TCAS-07.jpg