ยอดขายสินค้า OTOP อุบลฯ ในงาน OTOP City 2022 ทะลุ 14 ล้านบาท
กรมการพัฒนาชุมชน จัดงาน OTOP City 2022 ระหว่างวันที่ 17 - 25 ธันวาคม 2565 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายใต้แนวคิด “มอบความสุขจากภูมิปัญญา ส่งต่อคุณค่าจากฝีมือคนไทย” วัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เพิ่มช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนเป็นการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สร้างโอกาสในการเรียนรู้และเพิ่มทักษะในการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า ให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และ OTOP ชวนชิม
หากจะพูดถึงมหกรรมการจัดเเสดงเเละจำหน่ายสินค้า OTOP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เเน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึง งาน OTOP City ที่จัดขึ้นช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ของทุกปี โดยกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งจะมีสินค้าจากทั่วประเทศนำมาจัดเเสดงเเละจำหน่ายจำนวนมาก โดยในปี 2022 มีผู้ประกอบการร่วมจำหน่ายในงานทั้งสิ้น 2,773 ผลิตภัณฑ์ OTOP มากกว่า 20,000 รายการ และจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการขาย ประกอบด้วย การแสดงดนตรี การแสดง ศิลปวัฒนธรรมภาคต่าง ๆ การจัดช่วงเวลานาทีทอง กิจกรรม ชิงรางวัลทุกวัน มียอดการจำหน่ายรวมจำนวนทั้งสิ้น 653,150,204 บาท มีผู้เข้าชมงานรวมทั้งสิ้น 212,647 คน
นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เเละรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯ ให้การสนับสนุนส่งเสริมผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP จากจังหวัดอุบลราชธานี นำผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 3-5 ดาว ที่เข้าร่วมแสดงและจำหน่ายสินค้า ในงาน จำนวน 57 บูท โดยมีนายพิสดาร ประดา พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นางสาววรางคณ อินทรเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนกลุ่มงานส่งเสริมฯ เป็นผู้ประสานงานเเละอำนวยในการจัดการดำเนินการในครั้งนี้
สรุปยอดการจำหน่ายสินค้า OTOP City 2022 ของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดอุบลฯ 9 วัน มียอดรวมจำหน่าย จำนวน 14,467,000 บาท รายละเอียด ดังนี้
1. ประเภทอาหาร จำนวน ( 11 บูท)
ยอดจำหน่าย 2,155,580 บาท
2. ประเภทเครื่องดื่ม จำนวน 1 บูท
ยอดจำหน่าย 72,700 บาท
3. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 28 บูท
ยอดจำหน่าย 10,243,820 บาท
4.ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 3 บูท
ยอดจำหน่าย 284,600 บาท
5.ประเภทของใช้ ของตกแต่งและของที่ระลึก จำนวน 10 บูท
ยอดจำหน่าย 1,115,100 บาท
6.ประเภทชวนชิม จำนวน 2 บูท
ยอดจำหน่าย 580,200 บาท
7.กระเช้าของขวัญปีใหม่ จำนวน 1 บูท
ยอดจำหน่าย 15,000 บาท
โดยกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP
ที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้เเก่
1. กลุ่มชุบเงิน ชุบทอง อ.เขื่องใน มียอดจำหน่าย 2,165,900 บาท
2. คำปุน อ.วารินชำราบ มียอดจำหน่าย 1,760,000 บาท
3. ต้นเทียนไหมไทย อ.เมืองอุบลราชธานี มียอดจำหน่าย 1,524,500 บาท
4. กลุ่มระกา อ.วารินชำราบ มียอดจำหน่าย 812,000 บาท
5. วาริสาผ้าปัก อ.กุดข้าวปุ้น มียอดจำหน่าย 634,400 บาท
งานประชาสัมพันธ์ สพจ.อุบลราชธานี..ภาพข่าว/รายงาน