guideubon

 

ม.อุบลฯ ปรับยุทธศาสตร์รับ Thailand 4.0 งานวิจัย-นวัตกรรมเป็นเลิศ

SME-Startup-มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี-01.jpg

วันที่ 21 กรกฎาคม 2560 รศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศาสตราจารย์(พิเศษ) จอมจิน จันทรสกุล นายกสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พร้อมคณะผู้บริหาร และบุคลากร ต้อนรับ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะฯ ให้เกียรติ ตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำเชิงนโยบาย แก่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ที่จะร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ เศรษฐกิจของประเทศสู่ Thailand 4.0

SME-Startup-มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี-02.jpg

ในการนี้ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้เยี่ยมชมผลงานวิจัยและนวัตกรรม ของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และของผู้ประกอบการที่มาเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ SME และ Startup กับทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ล้ำหน้าโดยมุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรม 1 ใน 5 ด้าน คือ 1) กลุ่มเกษตร อาหาร สมุนไพร อาหารเสริมสุขภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ 2) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง เนื่องจากมีความได้เปรียบและมีจุดแข็งด้านพื้นที่มีความหลากหลายเชิงชีวภาพ และความหลากหลายเชิง วัฒนธรรม และที่สำคัญยิ่งยังมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV สองประเทศ คือ ลาว และ กัมพูซา ที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วขณะนี้ โดยการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้คณะรัฐบาลเยี่ยมชม ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สุวิทย์-เมษินทรีย์-01.jpg

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าโมเดล Thailand 4.0 คือการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ที่เปลี่ยน จากการขับเคลื่อนประเทศด้วยอุตสาหกรรมเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย เทคโนโลยี ความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศไทยก้าวพ้นจากสามกับดักสำคัญที่เราเผชิญอยู่ คือ 1) กับดักประเทศรายได้ปานกลาง 2) กับดักความเหลื่อมล้ำของรายได้และโอกาสระหว่างคนจนกับ คนรวย และ 3) กับดักความไม่สมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับธรรมชาติ เชื่อว่า การ ปฏิรูปประเทศตามโมเดล Thailand 4.0 จะนำประเทศไทยไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในอนาคต

นงนิตย์-ธีระวัฒนสุข-01.jpg

รองศาสตราจารย์ ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีของเรามีความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประซาขน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐซึ่ง รับผิดชอบการผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศ การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ นวัตกรรม การให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ประชาชน จึงมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว

SME-Startup-มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี-03.jpg

และมหาวิทยาลัยก็ได้กำหนดนโยบายและปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานในด้านต่างๆ ให้สอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามโมเดล Thailand 4.0 โดยมุ่งเน้นและคำนึงถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัย ศักยภาพและความต้องการของพื้นที่ คือกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร

SME-Startup-มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี-04.jpg

ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงกำหนดยุทธศาสตร์ด้าน วิจัยและนวัตกรรมมุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรม 2 ใน 5 ด้าน คือ 1) กลุ่มเกษตร อาหาร สมุนไพร อาหารเสริมสุขภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ 2) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจัย และนวัตกรรมของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ และประจักษ์ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งจะเห็นได้จากผู้ประกอบการที่มีความเชื่อมั่นและมั่นใจในศักยภาพของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ SME และ Startup กับทางมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในขณะนี้

ทิพย์วรรณ เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว