guideubon

 

 

การแห่เครื่องยศเจ้าเมือง งานสดุดีวีระกรรม พระประทุมวรราชสุริยวงษ์

พระประทุม-เจ้าคำผง-อุบล-01.jpg

จังหวัดอุบลราชธานี มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การศาสนา และศิลปวัฒนธรรมสืบทอดมา จนถึง ปัจจุบันก็เพราะบุคคลในท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการ สร้างความเจริญ ให้กับบ้านเมือง

ในการพัฒนาในแต่ละด้านนั้น ได้มีบุคคลที่มีบทบาทเด่นชัดในด้านนั้นๆ เป็นปัจจัยหลัก ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า สั่งสมชื่อเสียงเกียรติคุณให้กับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งควรแก่การภูมิใจและควรค่าแก่การศึกษา เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ ในการพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ให้ สมญานามเป็น “เมืองนักปราชญ์”

เครื่องยศเจ้าเมืองโบราณ-เจ้าคำผง-01.jpg

การแห่เครื่องยศเจ้าเมืองแบบสมัยโบราณ ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานีได้อนุรักษ์และสืบสานในงาน สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี เช่น มีการอัญเชิญเครื่องยศเจ้าเมืองร่วมในขบวนแห่เทียนพรรษาในงาน ประเพณีเทศกาลเข้าพรรษา งานบวงสรวง ศาลหลักเมือง และงานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริวงษ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน ของทุกปี และในปี 2557 นี้ จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับทุกภาคส่วน กำหนดจัดงานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) และงานรำลึกวันแห่งความดี ต่อเนื่องกัน ณ ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อร่วมฉลอง 222 ปี อุบลราชธานี แห่งการสถาปนา....

จากตำนานเมืองอุบล ได้กล่าวกันถึงการสืบเชื้อสายจากเจ้านครเชียงรุ้งแสนหวีฟ้าของเจ้าปางคำ พระบิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ โดยกล่าวถึง ปี พ.ศ.2228 เกิดวิกฤตทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เนื่องจากจีนฮ่อหัวขาวหรือฮ่อธงขาว ยกกำลังเข้าปล้นเมืองเชียงรุ้ง เจ้านครเชียงรุ้ง ได้แก่เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี เจ้าปางคำ อพยพไพร่พลจากเมืองเชียงรุ้ง มาขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่ง เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นพระประยูรญาติทางฝ่ายมารดา

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่เมืองหนองบัวลุ่มภู เมืองหนองบัวลุ่มภู จึงอยู่ในฐานะพิเศษ คือไม่ต้องส่งส่วยบรรณาการ มีสิทธิสะสม ไพร่พล อย่างเสรีเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์ มีชื่อว่า “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้ว บัวบาน” สันนิษฐานว่า น่าจะมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง

ต่อมา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชให้ เจ้าอินทกุมาร เสกสมรสกับ พระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ได้โอรส คือ เจ้าคำ หรือเจ้าองค์นก ให้เจ้านางจันทกุมารี เสกสมรส กับพระอุปยุวราช ได้โอรส คือ เจ้ากิงกีศราช และ เจ้าอินทโสม ซึ่งต่อมาคือบรรพบุรุษของเจ้านายหลวงพระบาง ส่วนเจ้าปางคำ ให้เสกสมรสกับ พระราช นัดดาได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ สันนิษฐานว่า ทั้งสองท่านเป็นเสนาบดีกรงุศรีสัตนาคนหตุ ตั้ง แต่สมัยพระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ชัยวงค์เว้) พระอัยกาของ พระเจ้าสิริบุญสาร

เครื่องยศเจ้าเมืองโบราณ-เจ้าคำผง-03.jpgการดำรงฐานะเป็นเจ้านายเชื้อสายพระราชวงศ์ของพระเจ้าวอ พระเจ้าตา เห็นได้จากหลักฐานหลายประการ อาทิ การที่หนองบัวลุ่มภูเป็นเมืองใหญ่ มีไพร่พลมาก ดังปรากฎเมืองหน้าด่านทั้งสี่ คือ เมืองภูเขียว ภูเวียง เมืองผ้าขาว เมืองพันนา และการที่เมืองอุบลดำรงฐานะเป็นเจ้าประเทศราช เมื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย ต่างจากเมืองเขมร ป่าดงอื่นๆ และเมื่อกำเนิด พ.ร.บ. นามสกุล โปรดพระราชทานนามสกุล “ณ อุบล” อันหมายถึง เชื้อสายเจ้านายอุบลราชธานี แต่โบราณ เมื่อเจ้านายถึงแก่อสัญกรรม ก็มีประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ อันสืบมาจากนครเชียงรุ้ง ในเชียงใหม่ ก็ปรากฎการณ์ ทำศพแบบนกหัสดีลิงค์เช่นเดียวกัน

สถาปนาเมืองอุบลราชธานี พ.ศ.2335 พระ ประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) ได้พาพรรคพวกไพร่พลตั้ง อยู่ที่ ตำบลห้วยแจระแม (บริเวณบ้านท่าบ่อในปัจจุบัน) ด้วยความปกติสุขเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2334 (จุลศักราช 1153 ตรีศก) อ้ายเชียงแก้ว ซึ่งตั้ง บ้านอยู่ที่ตำบลเขาโอง แขวงเมืองโขง คิดการกบฎ พาพรรคพวกไพร่พลเข้ายึดนครจำปาศักดิ์พระเจ้า องค์หลวง(ไชยกุมาร) เจ้าเมืองซึ่งกำลังป่วยอยู่ก็มี อาการป่วยทรุดหนัก และถึงแก่พิราลัย อ้ายเชียงแก้ว จึงยึดเมืองนครจำปาศักดิ์ไว้ได้

ความทราบถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึง โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อ ครั้งเป็นพระพรหม ยกกระบัตร ยกกองทัพเมือง นครราชสีมามาปราบกบฏอ้ายเชียงแก้ว อย่างไรก็ดี ขณะที่กองทัพนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น พระประทุมสุรราช (เจ้าคำผง) และท้าวฝ่ายหน้า ผู้น้อง ที่ตั้งอยู่ บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) ได้ยกกำลังไปรบอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่าย ได้สู้รบกันที่บริเวณแก่งตะนะ (อยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม) กองกำลังอ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกประหารชีวิตเมื่อกองทัพ เมืองนครราชสีมายกมาถึงเมืองจำปาศักดิ์ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงพากันยกกองทัพ ไปตีพวกข่า “ชาติกระเสงสวาง จะรายระแดร์” ซึ่ง ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง จับพวกข่าเป็นเชลยได้เป็นจำนวนมาก

จากความดีความชอบในการปราบ ปรามกบฎอ้ายเชียงแก้วนี้เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช จึงได้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวฝ่ายหน้าเป็น พระวิไชยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์ และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประทุมสุรราช เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ ครองเมือง อุบลราชธานี พร้อมกับยกฐานะบ้านห้วยแจระแม ขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ.2335) ดังปรากฎ ในพระสุพรรณบัฏ ตั้งเจ้าประเทศราชในรัชกาล พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า

“ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าผู้ผ่านพิภพกรุงเทพ มหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรด กระหม่อม ตั้งให้ พระประทุม เป็นพระประทุมวรราช สุริยวงษ์ ครองเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลย ประเทศราช เศกให้ ณ วัน 2 แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 ปีจัตวาศก...”

เครื่องยศเจ้าเมืองโบราณ-เจ้าคำผง-02.jpg

สำหรับพิธีแห่เครื่องยศแบบสมัยโบราณใน ปีนี้ คณะกรรมการได้รับความอนุเคราะห์เครื่องยศและ ส่วนประกอบในขบวนแห่ จากเครือญาติ ดร.บำเพ็ญ ณ อุบล ได้รวบรวมและอนุรักษ์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ ทราบ และเห็นความสำคัญของการแสดงความจงรักภักดี เป็นการหลอมรวมจิตใจให้เกิดความรัก ความ สามัคคี และความผูกพันที่มีต่อบรรพชนที่สร้างบ้านแปงเมืองให้เรามีแผ่นดินอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้.....

การจัดงานสดุดีวีรกรรมพระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) จึงมีความสำคัญในการสร้างความรัก ความสามัคคี ของประชาชนทุกหมู่เหล่า รวมถึงเครือญาติ ลูกหลาน ชาวอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และที่อยู่ต่างประเทศในประเทศ ได้มาพบกันในงานนี้ เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ซึ่งเป็นแบบ อย่างที่ดีในสังคมต่อไป..

หอการค้า-ตุลาคม-57-01.jpg
โดย หมื่นกรรณ พันตา : ภูมิพลังเมืองอุบล
นสพ.หอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ตุลาคม 2557

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511