guideubon

 

หลักศิลาจารึก กำเนิดพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-01.jpg

วันที่ 25 มีนาคม 2564 ในงานพิธีแถลงข่าวโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ให้จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเป้าหมายด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมเที่ยวเมืองรอง สืบสานงานบุญประเพณี ปิดทอง สรงน้ำพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง มีการเสวนาเรื่อง "บุญเดือนห้า หลักศิลาจารึก พ่อเมืองอุบล สักการะสรงน้ำพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง 2564" ดังนี้

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-02.jpg

พระครูสารกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดมหาวนาราม พระอารามหลวง กล่าวถึงความเป็นมาของหลักศิลาจารึก กำเนิดพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงว่า 

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-04.jpg

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ฝังอยู่ในพื้นข้างฐานต้านทิศตะวันออกเบื้องซ้ายพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ลักษณะเป็นแผ่นหินศิลา ปลายโค้งมน เนื้อหินละเอียด สูงประมาณ 99 เชนติเมตร กว้าง 60 เชนติเมตร และหนา 17 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน มีทั้งหมด 24 แถว ด้านบนเป็นตราดวงฤกษ์

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-10.jpg

ข้อปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 เกี่ยวกับการสร้างวิหารและพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง คือในปี พ.ศ. 2335  พระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ ได้ขึ้นเสวยเมืองอุบลราชธานี ต่อมาปี พ.ศ.2348 ท่านได้สร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ และในปี พ.ศ.2349 พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เป็นประธาน สร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เสร็จในปี พ.ศ.2350 เดือนเมษายน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ วันอาทิตย์ วงเวลาบ่าย 3 โมง ดังปรากฎเป็นข้อความจารึกไว้ว่า

".....จุลศักราชได้ 114 (พ.ศ.2295) ปีมะแม เจ้าพระปทุมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวคำผง น้องชายพระวร) สร้างเมืองอุบลราชธานีได้ 26 ปี 

ศักราชได้ 142 (พ.ศ.2323) ปีมะเมีย จึงได้ถึงแก่อนิจกรรมล่วงไปตามลำดับปีเดือนนั้นเอง

ศักราชได้ 254 (พ.ศ.2335) ปีวอก พระพรหมวิราชสุริยะวงศ์ จึงได้ขึ้นเสวยเมืองอุบลราชธานี

ศักราชได้ 167 (พ.ศ.2348) ปีระกา จึงได้มาสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อให้เป็นที่บำเพ็ญแก่พระพุทธรูปและพระคุณเจ้า

ศักราชได้ 189 (พ.ศ.2350) ปีเถาะ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาจึงได้พาลูกศิษย์และยานุศิษย์ทั้งหลาย สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และได้นำเอาดินทรายเจ้าวัดด้วย เสร็จเมื่อเดือนเมษายน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ วันอาทิตย์ช่วงเวลาบ่าย 3 โมง ในนักขัตฤกษ์ราศีกันย์ ซึ่งถือว่ามีจิตใจเลื่อมใส เบิกบานดีแล้วในเวลาใกล้จะมืดลง จึงได้ชื่อว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เพื่อให้คนและเทวดาช่วยกันดูแลรักษาบูชา และอย่าให้ได้รับอันตรายใดๆ ทั้งสิ้นแก่พระพุทธรูปองค์วิเศษ เพื่อให้เป็นมงคลแก่บ้านเมือง..."

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-05.jpg

ศิลาจารึกหลักที่ 2 ฝังอยู่ในพื้นข้างฐานด้านทิศตะวันตกเบื้องขวาพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ลักษณะเป็นแผ่นหินศิลา ปลายโค้งมน เนื้อหินละเอียด สูงประมาณ 55 เชนติเมตร กว้าง 44 เชนติเมตร และหนา 10 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรธรรมอีสาน มีทั้งหมด 10 แถว ข้อปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ดังว่า

"....จุลศักราชได้ 168 (พ.ศ.2380) ปีเถาะ เดือนเมษายน วันเพ็ญ (เดือนห้า ขึ้น 15 ค่ำ วันอาทิตย์ช่วงเวลาบ่าย 3 โมง ในนักขัตฤกษ์ 12 ราศีกันย์ อันถือว่าเป็นมงคลอุดมฤกษ์ มีจิตใจเบิกบานดีแล้ว ในเวลาใกล้จะมืดลง พระมหาราชครูศรีสัทธธรรมวงศา ท่านเจ้าอาวาสวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ ได้พาลูกศิษย์ยานุศิษย์สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นหนึ่งองค์ ลงรักปิดทองด้วยความเคารพเลื่อมใส จึงหมายให้นามว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้สักการะบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย คอยช่วยกันดูแลรักษาอย่าให้ได้รับอันตรายใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อให้เจริญรุ่งเรืองในบวรพระพุทธศาสนาตลอดไปชั่วกาลนาน 5,000 ปี ก็ข้าเทอญ..."

สร้างสำเร็จแล้ว พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง จึงมีความสูงประมาณ 5 เมตร ฐานกว้างประมาณ 3 เมตร

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-06.jpg

จากศิลาจารึกทั้ง 2 หลัก ทำให้เราทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสร้างวิหารและพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ดังนี้ พ.ศ.2348 พระพรหมวราชสุริยะวงศ์ สร้างวิหารในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เพื่อให้เป็นที่บำเพ็ญแก่พระพุทธรูปและพระคุณเจ้า พ.ศ.2349 พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เจ้าอาวาสวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เป็นประธานสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เสร็จ พ.ศ.2350 เดือนเมษายน วันเพ็ญ (เดือนห้า) ขึ้น 15 ค่ำ วันอาทิตย์ บ่าย 3 โมง

จารึกด้านหลังซุ้มเรือนแก้ว พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-03.jpg

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-07.jpg

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-08.jpg

ตำนาน-พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง-09.jpg