guideubon

 

สาวน้อยหาบน้ำ ชุดการแสดงงานแห่เทียนพรรษาภาคกลางคืน

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-01.jpg

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี นำตัวแทนครู นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมแสดงรำขบวนแห่เทียนพรรษาภาคกลางคืน เนื่องในประเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2565 ของจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้ชื่องาน " 121 ปี ทวยราษฎใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา"

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-02.jpg

นางลฎาภา  แสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี พร้อมด้วยรองผู้อำนวยการ 4 ฝ่าย นำตัวแทนครู นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมแสดงรำขบวนแห่เทียนพรรษาภาคกลางคืน ในชื่อชุด “สาวน้อยหาบน้ำ” ใช้นักแสดงจำนวน 50 คน ถ่ายทอดศิลปะอีสาน บอกเล่าเรื่องราวตอนหนึ่งของวรรณกรรม “ลูกอีสาน” ที่แสดงออกถึงความการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาวชาวอีสาน จนในสุดก็ลงเอยด้วยการแต่งงานตามวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างเรียบง่าย ผสมผสานท่ารำและท่วงทำนองของความอ้อนช้อยสวยงาม ที่แสดงออกถึงความสนุกสนาน ครื้นเครง

สำหรับการแสดง “สาวน้อยหาบน้ำ” มีนายทิวัตถ์ วงศ์อุทุม นายอนุชิต วันโท เป็นผู้ฝึกสอน อำนวยการฝึกซ้อมโดย นางลฎาภา แสวงทรัพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี นายลือชัย ทาทอง รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา นางสาวศกลรัตน์ อุทธา นางสาวธนพร บุญยนต์ และนายอนรรฆ บุบผาวัลย์ 

นับเป็นความภาคภูมิใจของคณะผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ที่ได้ร่วมกันสืบสานประเพณีที่งดงามและเลื่องชื่อของท้องถิ่นเมืองดอกบัวให้คงอยู่สืบไป ทั้งนี้มีกำหนดแสดงเนื่องในงานเพณีแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2565 ภาคกลางคืน จะมีอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ 14 กรกฎาคม 2565 เวลา 18.00 น.เป็นต้นไป

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-03.jpg

ส่วนขบวนแห่เทียนภาคกลางวัน ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ใช้ชื่อชุดการแสดงว่า “อาชีวะถวายพระพร 90 พรรษาพระพันปี พระบารมีแห่งศาสตร์ศิลป์” ใช้นักแสดงจากนักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาต่างๆ ที่มีความสนใจด้านการแสดงร่ายรำศิลปะอีสาน จำนวน 90 คน

ร่วมแสดงถ่ายทอดเรื่องราวพระราชกรณียกิจ ต่างๆ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นการบอกเล่าเรื่องราวผ่านกลอนลำ นำเสนอบทขับร้องที่ไพเราะประกอบจังหวะท่วงทำนองดนตรีพื้นบ้าน มีกลองยาว พิณ ผสานกับท่าฟ้อนรำที่สวยงามแสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอีสาน ที่สอดแทรกความสนุกสนาน ครื้นเครง ผสานเสียงดนตรี ลีลาการฟ้อนรำ ที่แสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน

นับเป็นอีกความภาคภูมิใจของวิทยาลัยฯ ที่ได้สืบสานและต่อยอดประเพณีที่ดีงาม ให้คงอยู่คู่เมืองอุบลราชธานี ราชธานีแห่งอีสาน สืบไป

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-04.jpg

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-05.jpg

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-06.jpg

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-07.jpg

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-08.jpg

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-09.jpg

สาวน้อยหาบน้ำ-แห่เทียนอุบล65-10.jpg