guideubon

 

วัดทุ่งศรีเมือง ชนะเลิศ ต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่

เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดทุ่งศรีเมือง-01.jpg

ด้วย จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน กำหนดจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2566 ในระหว่าง วันที่ 30 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้รู้จักมากยิ่งขึ้น เป็นจุดหมายของ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้มีรายได้ จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในห้วงการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา นั้น

บัดนี้ การตัดสินการประกวดตันเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2566 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อย ต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่ ผลปรากฏดังนี้

รางวัลชนะเลิศ
ได้แก่ วัดทุ่งศรีเมือง
ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินสด 200,000 บาท
เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดทุ่งศรีเมือง-02.jpg

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ได้แก่ อำเภอเดชอุดม
ได้รับถ้วยรางวัล พร้อมเงินสด 180,000 บาท
เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-เดชอุดม.jpg

 

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
ได้แก่ วัดผาสุการาม
ถ้วยรางวัล พร้อมเงินสด 150,000 บาท
เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดผาสุการาม.jpg

 

รางวัลชมเชย
ได้แก่ วัดพระธาตุหนองบัว
เกียรติบัตร พร้อมเงินสด 50,000 บาท
เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดพระธาตุหนองบัว.jpg

 

รางวัลชมเชย
ได้แก่ วัดไชยมงคล
เกียรติบัตร พร้อมเงินสด 50,000 บาท
เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดไชยมงคล.jpg

 

เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดทุ่งศรีเมือง-06.jpg

สำหรับต้นเทียนพรรษาวัดทุ่งศรีเมือง เป็นต้นเทียนพรรษา ประเภทแกะสลัก ขนาดใหญ่ มีนายวิเชียร ภาดี เป็นหัวหน้าช่าง ได้จัดทำค้นเทียนจำลองเหตุการณ์สมัยพุทธกาล และหลักธรรมคำสอนปริศนาธรรม ไว้ดังนี้

ก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ ได้มีเหตุการณ์มารผจญเกิดขึ้นกับพระองค์ ดังในพุทธประวัติได้กล่าวว่า เมื่อวันเพ็ญเดือนหก ก่อนการตรัสรู้ไม่นานนัก ขณะที่พระสิทธัตถะกำลังนั่งบำเพ็ญเพียรทางจิตที่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ได้ตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า "ถ้าเรายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใค เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อและเลือดในกายจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เย็น และกระดูกก็ตามที"

บัดนั้นเอง ได้มีเหล่ามารจำนวนมาก ถือหอกดาบและอาวุธอื่นๆ มุ่งหน้ามาที่ประทับของพระองค์ เพื่อจะมาชัดขวางทำลายมิให้ได้ตรัสรู้ มารได้กล่าวหาว่า พระสิทธัตถะมาแย่งบัลลังค์ที่ใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นเป็นของตนไป จึงมาเรียกร้องคืนโดยได้อ้างพยานที่เป็นมารพวกเดียวกัน ขณะนั้น พระพุทธองค์ไม่อาจหาใครเป็นพยานได้ว่าที่บัลลังค์ที่นั่งนั้นเป็นของพระองค์ จึงทรงยื่นพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นดินเพื่อขอให้แผ่นดินเป็นพยาน

เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดทุ่งศรีเมือง-03.jpg

ทันใดนั้น ได้มีแม่นางธรณีผุดขึ้นจากพื้นดิน เพื่อเป็นพยานให้กับพระองค์ พร้อมบีบมวยผมเนน้ำท่วมเหล่ามารจนพ่ายแพ้ไป ซึ่งน้ำที่ออกจากมวยผมนั้น เป็นน้ำที่พระพุทธองค์เคยกรวดไว้ตอนที่ทรงบำเพ็ญบารมีทุกๆ ชาติ จึงรวมเป็นน้ำจำนวนมหาศาลมาช่วยพระองค์ให้ชนะมารได้

เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดทุ่งศรีเมือง-04.jpg

ในขณะนั้น ความมหาอัศจรรย์ก็บังเกิด พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็สั่นหวั่นไหว พฤกษชาติทั้งหลาย ก็ผลิดอกออกช่องามตระการตา พระพรหม พร้อมด้วยเทพเจ้าทุกชั้นฟ้าก็แช่ซ้องสาธุการ โปรยปรายบุบผามาลัยทำสักการบูชา เปล่งวาจาว่า พระสัมมาพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ด้วยปีติยินดีเป็นอัศจรรย์ ที่ไม่เคยบังเกิดมีมาในกาลก่อน

เมือเหล่ามารได้พ่ายแพ้ไปแล้ว จึงได้คิดหาวิธีการใหม่ ที่จะเอาชนะพระพุทธองค์ให้ได้ก่อนที่จะตรัสรู้ เมื่อเห็นว่าใช้ไม้แข็งไม่ได้ผล จึงได้ลองใช้ไม้อ่อนบ้าง แล้วจึงส่งลูกสาวพญามาร (ธิดามาร) 3 คน ได้แก่ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา มายั่วยวนให้พระองค์หลงใหล แต่ก็ไม่สำเร็จ พระทัยของพระองค์คงหนักแน่นตามที่ได้อธิษฐานจิตไว้ จนได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในลำดับต่อมา หลังจากที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว มารจึงหมดโอกาสที่จะชัดขวางรังควานได้อีกต่อไป

เรื่องราวของธิตาพระยามารประโลมพระพุทธเจ้าก็เป็นปุคคลาธิษฐาน ถอดความได้ว่า ทั้งสามธิดาพระยามารนั้น ล้วนหมายถึงกิเลสทั้งนั้น อย่างหนึ่งคือความยินดี อีกอย่างหนึ่งคือความยินร้ายหรือความเกลียดชัง ความยินดีส่วนหนึ่งแยกออกเป็นตัณหา คือความอยากไต้ไม่มีที่สิ้นสุด อีกส่วนหนึ่งเป็นราคา หรือราคะ คือความใคร่หรือกำหนัด ความเกลียดชังหรือยินร้ายออกมาในรูปของอรดี อรดีในที่นี้คือความริษยา ความที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติ แม้แต่ทรงลืมพระเนตรนั้น ก็หมายถึงว่า พระพุทธเจ้าอยู่ห่างไกลจากกิเลสดังกล่าวมาโดยสิ้นเชิงนั่นเอง

เทียนแกะสลัก-ขนาดใหญ่-วัดทุ่งศรีเมือง-05.jpg

ท้าวพกาพรหมที่ประทับบนหลังหงส์ มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน ซึ่งขัดต่อคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธองค์โปรดให้ท้าวพกาพรหมแสดงฤทธิ์ โดยให้ไปช่อนตัวในที่ต่างๆ แต่ไปซ่อนที่ใด พระพุทธองค์ก็ทรงทราบ ต่อมาพระพุทธองค์ทรงทำปาฏิหาริย์อันตรธารหายไป และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้ได้ยินแต่ พระสุรเสียง และทรงตรัสว่ากำลังเดินจงกรมอยู่บนเศียรของท้าพกาพรหม ท้าวพกาพรหมหมดทิฐิมานะ จึงตั้งใจฟังธรรมเทศนาจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511