ราชภัฏอุบลฯ เปิด ป.ตรี หลักสูตร CWIE ปีนี้เหลือแค่ 15 ที่นั่งสุดท้าย!
“โอชิเน” จับมือพันธมิตร ร่วมมือ ม.ราชภัฏอุบล ฯ เปิดหลักสูตรแบบ CWIE วท.บ.การจัดการอุตสาหกรรม ฯ ด่วน! ปีนี้เหลืออีกแค่ 15 ที่นั่งสุดท้าย!
“โอชิเน” ผู้นำธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise) ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นของประเทศไทย จับมือบริษัทในเครือและพันธมิตร ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เปิดหลักสูตรปริญญาตรีแบบ CWIE วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม ปีการศึกษา 2566 รับอีกแค่ 15 ที่นั่งสุดท้าย ถึง 22 มิถุนายน นี้!!
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นโอชิเน ที่ขยายสาขากระจายไปทั่วประเทศและประเทศใกล้เคียง ภายใต้การบริหารของบริษัท โอชิเน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ธุรกิจของชาวอุบลราชธานี รวมทั้งบริษัทในเครือ คือ บริษัท ไดกิ ฟู้ด จำกัด ที่ทำหน้าที่จัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์สำหรับภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้มีความต้องการกำลังคนรองรับการเติบโตดังกล่าว โดยเฉพาะในระดับผู้จัดการ และหัวหน้างานระดับต่าง ๆ ครอบคลุมงานด้านการจัดการอุตสาหกรรม การจัดการการปฏิบัติงาน หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ หัวหน้าฝ่ายคลังสินค้า หัวหน้าฝ่ายโลจิสติกส์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนานวัตกรรม หัวหน้าฝ่ายผลิต หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพและประกันคุณภาพ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ นักวิเคราะห์ข้อมูลฝ่ายวิศวกรรมอุตสาหการ นักออกแบบกระบวนการผลิตและบริการ ผู้ดูแลระบบมาตรฐานคุณภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ผู้ดูแลด้านการจัดการความยั่งยืน เป็นต้น
รวมทั้งพันธมิตรอย่าง บริษัท นีน โมเดิร์น จำกัด ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกในนาม “Office Mate Plus” ที่มุ่งใช้นวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ให้เกิดความคุ้มค่าและยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พัฒนาหลักสูตรแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE – Cooperative and Work Integrated Education) ในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ขึ้นตั้งแต่ปีการศึกษาที่ผ่านมา
หลักสูตรแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน หรือ CWIE (ซีวี่) เป็นหลักสูตรที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เร่งรัดให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศจัดขึ้น โดยเป็นในลักษณะร่วมผลิตระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการ เพื่อให้บัณฑิตพร้อมสู่โลกการทำงานจริงได้ทันที มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เน้นเพิ่มทักษะและประสบการณ์การทำงานจริงให้นักศึกษามากกว่าการนั่งเรียนทฤษฎีในมหาวิทยาลัยแบบเดิม ซึ่งมีการออกแบบหลักสูตรร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการที่ใช้บัณฑิต (บ.โอชิเน เอ็นเตอร์ไพรส์ บ.ไดกิ ฟู้ด บ.นีน โมเดิร์น และ หจก.เพชรเรือนทอง) โดยการกำหนดสมรรถนะและตำแหน่งงานของบัณฑิตที่จะสำเร็จการศึกษาขึ้นก่อน แล้วออกแบบเนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกประสบการณ์ ร่วมจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการศึกษาด้วยกัน
สำหรับหลักสูตร วท.บ.การจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม (CWIE) นี้ มีจุดเด่นที่เป็นหลักสูตรเชิงสมรรถนะ มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ในการทำงานจริงเพื่อให้บัณฑิตสามารถได้งานและทำงานได้ทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา ลดเวลาเรียนทฤษฎีในห้องเรียนในมหาวิทยาลัยให้เหลือ 6 ภาคเรียน (รวมภาคฤดูร้อน) และเพิ่มประสบการณ์การทำงานจริงของนักศึกษาในสถานประกอบเกือบ 2 ปีการศึกษา ซึ่งกำหนดสมรรถนะของผู้เรียนเมื่อเรียนจบแต่ละชั้นปี ดังนี้
- เมื่อจบปีที่ 1 มีสมรรถนะในตำแหน่งพนักงานในงานอุตสาหกรรม
- เมื่อจบปีที่ 2 มีสมรรถนะในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่าย
- เมื่อจบปีที่ 3 มีสมรรถนะในตำแหน่งหัวหน้างานระดับต้น
- เมื่อจบปีที่ 4 มีสมรรถนะในตำแหน่งหัวหน้างานระดับกลาง ผู้จัดการ ผู้ประกอบการ
“เชฟหนุ่ม” กิตติศักดิ์ ลีล้อม ผู้บริหารโอชิเนอุบล ฯ และกรรมการผู้จัดการบริษัท ไดกิ ฟู้ด กล่าวว่า “ความร่วมมือในการเปิดหลักสูตร วท.บ.การจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม แบบ CWIE ครั้งนี้ จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมได้บัณฑิตและพนักงานที่ตรงตามความต้องการ มีสมรรถนะสูง สามารถทำงานได้ทันที เพราะตลอดระยะเวลาที่เรียนนักศึกษาต้องมาฝั่งตัวเรียนรู้ในโลกการทำงานจริง พัฒนาประสบการณ์ - ค่านิยมให้สอดคล้องและเป็นประโยชน์ในการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นนโยบายของโอชิเนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการตอบแทนสังคม ด้วยการส่งมอบโอกาสในการพัฒนาเยาวชนหรือคนในท้องถิ่นของเราให้มีการศึกษาและมีงานที่ดีทำต่อไป
ด้าน “อาจารย์นุ้ย” ภิรญา สังฆมโนเวศ นักธุรกิจสาวสวยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านธุรกิจ เทคโนโลยี และการจัดการนวัตกรรม จากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในฐานะผู้บริหารของบริษัท นีน โมเดิร์น (Office Mate Plus) และ หจก.เพชรเรือนทอง ที่ร่วมเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน ให้ข้อคิดว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า บริษัทจึงเน้นนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า การเรียนแบบ CWIE จะทำให้น้อง ๆ นักศึกษามีโอกาสเข้ามาทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ปีที่ 1 ช่วยให้น้อง ๆ สามารถปรับตัว สร้างระบบคิด เรียนรู้เทคโนโลยี และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทางธุรกิจ ซึ่งแตกต่างกับการเรียนหลักสูตรแบบเดิม ๆ ที่จบมาแล้วยังงง ๆ ไม่สามารถทำงานได้ทันที”
หลักสูตร วท.บ.การจัดการอุตสาหกรรมและนวัตกรรม แบบ CWIE เหมาะสำหรับ
- น้อง ๆ ที่อยากทำงานทันที/อยากได้งานเร็ว
- น้อง ๆ ที่ชอบเรียนรู้จากการลงมือทำมากกว่านั่งเรียนแบบเดิม ๆ
- น้อง ๆ ที่ชอบวางแผน/จัดการ ทำในสิ่งที่หุ่นยนต์ทำไม่ได้
- น้อง ๆ ที่ชอบทำงานกับคน อยากมีเพื่อนเยอะ ๆ
- น้อง ๆ ที่ชอบความท้าทาย ชอบคิดนวัตกรรม
- น้อง ๆ ที่ชอบปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ในปีการศึกษา 2566 นี้ เปิดรับสมัครรอบสุดท้าย อีกเพียง 15 ที่นั่ง ถึงวันที่ 21 มิถุนายน นี้ (เปิดภาคเรียนวันที่ 10 กรกฎาคม 2566) น้อง ๆ ที่สนใจสามารถสมัครด้วยตนเองที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี หรือทางเฟซบุ๊กส์เพจ “รับเข้าศึกษา ม.ราชภัฏอุบลฯ” หรือทางเว็บไซต์ https://admission.ubru.ac.th/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่หมายเลขโทรศัพท์ 090 909 6810 หรือ 081 264 3797