guideubon

 

เปิดสมุดปกขาว หอการค้าไทย ทิศทางและโอกาสพัฒนาภาคอีสาน 2023

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-01.jpg

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวสรุปผลการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 และมอบสมุดปกขาวเพื่อหาแนวทางในการฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ ว่า หอการค้าไทย ร่วมกับหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานีและเครือข่าย จัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 40 ภายใต้หัวข้อ “Connect the dots : Enhancing Thailand Competitiveness” โดยวาระเร่งด่วนที่ตั้งเป้าหมายร่วมกับภาครัฐและเอกชน คือ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ที่จะต้องได้รับการสนับสนุนให้เกิดการปรับตัว ด้วยการนำเอา Digital Transformation มาใช้ดำเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพ และไม่ใช่แค่ทางเลือก หรือทางรอด แต่คือทางหลักสู่ความสำเร็จของ SME ไทย ท่ามกลางปัญหาวิกฤติซ้อนวิกฤติ

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-12.jpg

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับหลายปัจจัยที่ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่รวดเร็วเท่าที่ควร โดยนอกจากผลกระทบของโควิด-19 แล้ว ยังมีสถานการณ์ที่ส่งผลซ้ำซ้อนอีก 4 ด้าน ได้แก่
1. วิกฤตด้านพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์
2. การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต และการขาดแคลนวัตถุดิบด้านการเกษตร
3. วิกฤตการเงินภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs และ
4. วิกฤตโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการลดลงของอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย ที่ลดลงถึง 5 อันดับจากปี 2564

ดังนั้น ทางออกที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลับมาเข้มแข็งได้ คือ การหาแนวทางเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในแต่ละมิติ โดยเฉพาะมิติเศรษฐกิจ ผ่านกลไกการเชื่อมโยงและบูรณาการระหว่างเครือข่ายทุกภาคส่วน

ทั้งนี้ หอการค้าไทยได้จัดทำสมุดปกขาวมอบให้รัฐบาล เพื่อนำไปพิจารณาผ่านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ซึ่งได้สรุปแนวทางการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ข้อคือ

1. Connect เชื่อมโยงความร่วมมือเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยหอการค้าไทยตั้งเป้าหมายระดมสมาชิกเพิ่มจาก 1 แสนราย เป็น 2 แสนราย ภายใน 3 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งของ SME ไทยตลอดจนขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาค 5 ภาค จากการระดมความเห็นของสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศตลอดทั้งปี

2. Competitive ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในทุกมิติ โดยสนับสนุนภาครัฐ ขับเคลื่อน FTAAP และเร่งขยาย FTA กับนานาชาติ ต่อยอดความเชื่อมั่นจากการเป็นเจ้าภาพ APEC ในช่วงที่ผ่านมา พร้อมดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ EEC ที่มีความพร้อมในการรองรับการลงทุนตรงจากทั่วโลกได้อย่างทันที

3. Sustainable สร้างอนาคตที่ยั่งยืน เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ หอการค้าไทยและเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมผลักดัน Bangkok Goals (เป้าหมายกรุงเทพฯ) ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG โดยจะนำเอาแผนพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคภาคเอกชน ระยะ 5 ปี เป็นแนวทางขยายผล BCG Model เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ นอกจากนั้น จะใช้กลไกสถาบันวิทยาการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อผู้ประกอบการและผู้บริโภค ที่จัดตั้งขึ้นร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสถาบันทางวิชาการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และร่วมกับหอการค้าทุกจังหวัด ขับเคลื่อน BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

สำหรับ Enhancing Regional Economy : ปลุกภูมิภาค - ฟื้นเศรษฐกิจไทย เป็นการเสวนารวบรวมและสรุปประเด็นแนวทางการผลักดันเศรษฐกิจไทยในปี 2566 โดยหอการค้าไทยได้นำเสนอแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนเศรษฐกิจสีเขียว (Bangkok Goals on BCG Model) จากการประชุม APEC สู่แนวปฏิบัติร่วมกับหอการค้า 5 ภาค ขับเคลื่อนตามความถนัดและความสามารถของแต่ละจังหวัด

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-02.jpg

โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คุณสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวไว้ในสมุดปกขาว หน้าที่ 78 ดังนี้

การพัฒนาระหว่างปี 2566-2570 มุ่งเน้น
1. ปลุกพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจให้มีความพร้อมเกี่ยวกับการพัฒนาเกษตรมูลค่าสูง การบริการดูแลสุขภาพ การแพทย์ และการท่องเที่ยวคุณภาพสูง ตลอดจนการบริหารจัดการน้ำ
2. สร้างประตูสู่การค้าการลงทุนในระดับนานาชาติและอาเชียน เน้นไปที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
3. เปิดประตูการท่องเที่ยว จากเส้นทางเดิมให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และ
4. สร้าง wellness center รวมทั้งศูนย์สุขภาพทั้งหมด โดยใช้เกษตรปลอดภัยยกระดับองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-03.jpg

โครงการเร่งด่วน (Flagship Projects) ยังคงเน้นหนักสานต่อเรื่องเดิมต่อเนื่องจากปีที่ผ่าน มานำไปสู่การเติบโต 49 ท่ามกลางวิกฤติซ้อนวิกฤติจากนี้ไปจนถึงปี 2023

1. ด้านการค้า การลงทุน และค้าชายแดน
- ใช้ประโยชน์จากช่องทางต่าง ๆ ในเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น ช่องทางการขนส่งระบบรางไปสู่จีนและยุโรป มาเลย์ สิงคโปร์
- หนุน NeEC ปั้นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 4 จังหวัด (ขอนแก่น-นครราชสีมา-อุดรธานี-หนองคาย) เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมชีวภาพเพื่อบุกกลุ่ม CLV และจีนตอนใต้
- ยกระดับการค้าชายแดน สร้างสะพานแม่น้ำโขง หนุนโลจิสติกส์การขนส่งไทย-ลาว-จีน

2. ด้านเกษตรและอาหาร
- การบริหารจัดการน้ำโขง-เลย-ชี-มูล 365 วัน เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำชาก
- การยกระดับการเกษตรโดยใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
- สร้างจุดขายให้พื้นที่ภาคอีสานเป็นฮับเมืองแห่งอาหารและสมุนไพร
- โครงการโค 1 ล้านตัว ปัจจุบันได้มากกว่า 6 แสนตัว ซึ่งมีมูลค่าสูง

3. ด้านการท่องเที่ยว
- ชู Happy Model สร้าง Wellness Tourism กระจายรายได้สู่ชุมชน
- ยกระดับเส้นทางโรแมนติก รูท และ นาคา-นาคี รูท ในรูปแบบ BCG Tourism
- หนุนจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก "อุดรธานี" กระตุ้นเศรษฐกิจ การเกษตร และท่องเที่ยว

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-04.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-05.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-06.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-07.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-08.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-09.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-10.jpg

สมุดปกขาว-หอการค้าไทย-11.jpg