อิทธิพลพายุโซนร้อน จ่ามี คาดฝนตกหนัก 26-28 ต.ค.67
วันที่ 25 ตุลาคม 2567 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อัพเดทสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและในทะเลจีนใต้ เมื่อเวลา 04.00น. มีพายุโซนร้อนก่อตัว 2 ลูก ลูกแรก พายุโซนร้อน "จ่ามี (TRAMI)" ค่ำนี้มีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (ทางด้านตะวันตกประเทศฟิลิปปินส์) กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก เข้าใกล้ทางตอนใต้เกาะไหหลำ และชายฝั่งตอนกลางของประเทศเวียดนามในช่วงวันที่ 26 -28 ต.ค.67 ก่อนที่จะวกกลับไปในทะเลจีนใต้ตอนบนอีกครั้ง (ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย) พายุนี้จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย แต่อาจจะมีผลกระทบทางอ้อม โดยทำให้ประเทศไทย มีเมฆเพิ่มขึ้น และมีฝนบางพื้นที่ กับมีลมแรง เป็นลมตะวันตกที่พัดเข้าหาพายุมีกำลังแรงขึ้น โดยเฉพาะทางตะวันออกของภาคอีสาน (จ.อุบล อำนาจเจริญ มุกดาหาร ยโสธร นครพนม สกลนคร) เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวจะมีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมอยู่ด้านหน้าของพายุ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม. ปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นในวันที่ 27 ต.ค.67 ยังต้องเฝ้าระวัง
ส่วนพายุอีกลูก คือ พายุโซนร้อน "กองเร็ย (KONG-REY)" ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุนี้ยังอยู่ห่างจากประเทศไทนมาก แต่ยังต้องติดตามเนื่องจากทิศทางยังมีการเปลี่ยนแปลง (ข้อมูลนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงใช้เป็นแนวทางในการติดตามและเฝ้าระวัง)
โดยเมื่อเวลา 06.00 น. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกาศฉบับที่ 3 (55/2567) เรื่อง พายุ "จ่ามี" ความว่า เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (25 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อน "จ่ามี" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจุด 17.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศศตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อย อย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในช่วงวันที่ 26 - 28 ต.ค. 67 โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่จะทำให้มีลมฝ้ายตะวันตก และลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้าหาศูนย์กลางของพายุมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหน้กบางแห่ง กับมีลมแรงในช่วงวันดังกล่าว หลังจากนั้นพายจะเปลี่ยนทิศทางเคลื่อนตัวออกห่างจากชายฝั่งประเทศเวียดนามกลับไปทางทะเลจีนใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลดลง
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีดังนี้
วันที่ 26 ตุลาคม 2567 จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 27 ตุลาคม 2567 จังหวัดมุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
วันที่ 28-29 ตุลาคม 2567 จังหวัดมุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
ขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป้าไหลหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ล่ม รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อย่างใกล้ชิดต่อไป