guideubon

 

 

กรมอุตุฯ ชี้ พายุยางิ ไม่เข้าไทย เตือน 3-7 ก.ย.ฝนตกหนักมาก

พายุยางิ-ไม่เข้าไทย-01.jpg

วัน 2 กันยายน 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุหมุนเขตร้อนว่า พายุดีเปรสชัน ที่อยู่ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "ยางิ (YAGI)" บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน ประเทศจีน และเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน ในช่วงวันที่ 3-4 กันยายน นี้

YAGI ยางิ เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อน แปลว่า ราศีมังกร, แพะ ตั้งโดยประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นพายุลูกที่ 11 ในรอบปี พายุลูกนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย แต่จะช่วยดึงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน อ่าวไทย และทะเล จีนใต้แรงขึ้น ทำให้ด้านรับมรสุมของไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฝั่งอันดามัน และภาคตะวันออก

พายุยางิ-ไม่เข้าไทย-02.jpg

และเมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 2 กันยายน 2567 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ออกประกาศฉบับที่ 3 (38/2567) เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3 - 7 กันยายน 2567) มีข้อความ ดังนี้

ในช่วงวันที่ 3-7 กันยายน 2567 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศตำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีดังนี้

ในวันที่ 3 กันยายน 2567 : บริเวณจังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ในช่วงวันที่ 4-5 กันยายน 2567 : บริเวณจังหวัด ยโสธร ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ในช่วงวันที่ 6-7 กันยายน 2567 : บริเวณจังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดนำท่วมฉับพลันและน้ำบำไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย และติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากศูนย์อุตูนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อย่างใกล้ชิดต่อไป

 

copyright 2005 www.GuideUbon.com สำนักงานไกด์อุบลดอทคอม เลขที่ 89/1 ถนนพโลรังฤทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 ติดต่อไกด์อุบล : webmaster@guideubon.com | msn : guide_ubon@hotmail.com | Tel : 080-4850511