ประเมินซ้ำอุทยานธรณีอุบลฯ เตรียมก้าวสู่อุทยานธรณีระดับโลก (UNESCO)
วันที่ 17 มิถุนายน 2566 นายกานต์ กัลป์ตินันท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ในฐานะผู้อำนวยการอุทยานธรณีอุบลราชธานี มอบหมายให้นายอภิรักษ์ นามบุตร รองนายก อบจ. พร้อมด้วยนายอภิศักดิ์ ทองกลึง รักษาราชการแทนปลัด อบจ.และนายจักณรินทร์ โจมหาร ผู้อำนวยการกองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อบจ.ในฐานะเลขานุการอุทยานธรณีอุบลราชธานี นำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม สรุปผลการประเมินซ้ำ เพื่อคงสถานะอุทยานธรณีอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานธรณีประเทศไทย ณ ห้องประชุม โรงแรมพีรดา รีเวอร์วิว รีสอร์ท อ.โขงเจียม
ด้วยคณะอนุกรรมการผู้ประเมินภาคสนาม ภายใต้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี กรมทรัพยากรธรณี นำโดยนายนเรศ สัตยารักษ์ และ นายป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 14 - 17 มิถุนายน 2566 เพื่อตรวจประเมินซ้ำ รองรับการประเมินอุทยานธรณี เพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย ของอุทยานธรณีอุบลราชธานี
โดยผู้ประเมินมีกำหนดการประชุมร่วมกับคณะทำงาน ชุมชน และทุกภาคส่วนในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรวบรวมข้อมูลภาพรวม และลงพื้นที่ตรวจประเมินภาคสนาม แหล่งสำคัญ ได้แก่
1. ล่องเรือหาดสลึง-สามพันโบก
2. ชมปากบ้องจุดที่แคบที่สุดของแม่น้ำโขง
3.ชมวิถีชีวิตชาวประมงและสาธิตวิธีการตักปลา
4.ชมแหล่งธรณีสัณฐานตามแม่น้ำโขง
5.ต้นจามจุรีร้อยปี
6. ชมห้องเรียนรู้หินและแหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณี เสาเฉลียงยักษ์
7. ศูนย์การเรียนรู้การบริหารจัดการน้ำ-ปลา-ป่า โดยชุมชน
8. อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ชมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงธรณีและภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์
9. แหล่งเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์ไทบูร (ไท-บู) บ้านท่าล้ง
10. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านกุ่ม
11. ชุมชนบ้านซะซอม
12. หมู่บ้านผ้าฝ้ายคอตตอนวิลเลจ
13. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มครูหยอย
14. ศูนย์การเรียนรู้ไดโนเสาร์เฉลิมพระเกียรติ โคกผาส่วม
15. วงเวียนผังเมืองใยแมงมุม นำเสนอประวัติดินแดนหลวงปู่มั่นและกิจกรรมบูชาแบบอีสาน
16. ศูนย์เรียนรู้อุทยานธรณีอุบลราชธานี ณ โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร (โรงเรียนอุทยานธรณีแห่งแรกของประเทศไทย)
17. อนุสรณ์สถานศิลปินแห่งชาติ (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา)
18. อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
และชมความงามวัดเรืองแสง (วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว) เป็นต้น
นายกานต์ กัลป์ตินันท์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า อุทยานธรณีอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.โพธิ์ไทร อ.ศรีเมืองใหม่ อ.โขงเจียม และ อ.สิรินธร มีเนื้อที่ประมาณ 1,800 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 จัดตั้งเป็นอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัด และได้รับการรับรองตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นอุทยานธรณีระดับประเทศ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562
การดำเนินการขับเคลื่อนตามแนวทางและหลักเกณฑ์ของ UNESCO สิ่งสำคัญที่สุด คือ ท้องถิ่น จะต้องให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ภูมิปัญญาเป็นเกณฑ์ในการประเมินหลัก ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ บริการจัดการทรัพยากร ให้เกิดรายได้ เกิดการเรียนรู้ และได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรณี โดยกระบวนการสร้างการรับรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาต่างๆ สู่เยาวชนรุ่นหลัง นักเรียน นักศึกษา ผ่านกระบวนการทางด้านการศึกษาวิจัยการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ อาทิ เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ วิสาหกิจชุมชน
ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดรายได้สู่ชุมชนจากการท่องเที่ยว ผ่านกลุ่มมัคคุเทศก์น้อย กลุ่มแม่บ้านวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว รถนำเที่ยว เพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างยั่งยืนอละก้าวสู่อุทยานธรณีโลกของ UNESC0 ต่อไป
โดยคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินฯพร้อมคณะ ได้ประเมินในด้าน ธรณีวิทยาและภูมิประเทศ ด้านการสื่อสารและการให้ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา และด้านการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยสถานที่ในการตรวจรับการประเมินในวันนี้ คือ อ.ศรีเมืองใหม่ และ อ.สิรินธร ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ไดโนเสาร์เฉลิมพระเกียรติ โคกผาส่วม, วงเวียนผังเมืองใยแมงมุม นำเสนอประวัติดินแดนหลวงปู่มั่นและกิจกรรมบูชาแบบอีสาน, ศูนย์เรียนรู้อุทยานธรณีอุบลราชธานี ณ โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร (โรงเรียนอุทยานธรณีแห่งแรกของประเทศไทย), อนุสรณ์สถานศิลปินแห่งชาติ (พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา), อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ และชมความงามวัดเรืองแสง (วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว) เป็นต้น
ต่อมา คณะกรรมการผู้ตรวจประเมินฯ ได้ประเมินในด้าน การอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา ด้านมรดกธรรมชาติ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน โดยสถานที่ในการตรวจรับการประเมิน ได้แก่ ต้นจามจุรี 100 ปี ศูนย์บริหารนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ชมห้องเรียนรู้หินและแหล่งท่องเที่ยวอุทยานธรณีเสาเฉลียง ศูนย์การเรียนรู้การบริหารจัดการ น้ำ-ปลา-ป่า โดยชุมชน และรับฟังการนำเสนอการบริหารจัดการการอนุรักษ์ปกป้องแหล่งมรดกทางธรรมชาติ แหล่งมรดกทางธรณีวิทยา และแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์ นำชมเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีและภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์ไทบรู และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านซะซอม ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าฝ้ายย้อมสีจากธรรมชาติ และ การนำเสนอเรื่องราวกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาส้มครูหยอย เป็นต้น
จารุณี-ข่าว
โกศล,จีรพงศ์,พิสิษฐ์,เสกสรร-ภาพ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี