เจ้าภาพเลือกใช้ของท้องถิ่น พัฒนาชุมชนชาวอุบลแบบยั่งยืน
วันที่ 4 มกราคม 2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี แถลงข่าวความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 46 "ราชภัฏอุบลราชธานีเกมส์" ณ อาคารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์สื่อมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พล.อ.นิรุทธ เกตุสิริ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พร้อมด้วย รศ.ธรรมรักษ์ ละอองนวล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี นายสมชาติ พงคพนาไกร ประธานหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดา บุญยืด รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และ ว่าที่ร้อยตรี เชษฐ์ ศรีไมตรี รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและการเรียนรู้ ร่วมในการแถลงข่าวในครั้งนี้
รองศาสตราจารย์ธรรมรักษ์ ละอองนวล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวว่า การที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานีของเรา ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาฯ ในครั้งนี้ จะมีนักกีฬาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมการแข่งขัน 101 แห่ง รวมนักกีฬาและเจ้าหน้าที่กว่า 20,000 คน และมีสัญลักษณ์นำโชค (มาสคอต) ในชื่อว่า "อ้ายบัวหมาน กับ กะปอมน้อย"
ในการจัดการแข่งขันนี้ มีคําขวัญประจําการแข่งขันว่า “กีฬาเพื่อการเรียนรู้ สู่การ พัฒนาอย่างยั่งยืน” ที่เรายึดเป็นหลักในการจัดการแข่งขัน โดยมีความตั้งใจในการที่ จะให้เกิดประโยชน์ต้องสังคม ชุมชนอุบลราชธานีของเรา ตามปณิธาณของ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการ พัฒนาท้องถิ่น”
เราใช้พื้นที่ของชุมชนหลายแห่งในการจัดการแข่งขัน ทั้งเทศบาลนคร อุบลราชธานี เทศบาลเมืองวารินชําราบ สนามกีฬากลางจังหวัดของ อบจ. เทศบาล ตําบลปทุม ชุมชนหาดคูเดื่อ หรือสนามกีฬาหลักที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อบต.ก่อเอ้ อําเภอ เขื่องใน
ส่วนของที่ระลึก สําหรับมอบให้นักกีฬา และผู้เข้าร่วมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ที่ เกี่ยวข้องทั้งหมด เราเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ “ผ้าขาวม้า” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้ งบประมาณกระจายไปยังชุมชนผู้ผลิตในจังหวัด แทนการใช้ของที่ระลึกที่ทําจากโรงงาน
การตกแต่งสถานที่ ทั้งทางเดิน ป้าย โต๊ะ เก้าอี้ หรือแม้แต่เสาธงต่าง ๆ เลือกใช้ไม้ไผ่และวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ดอกไม้ แม้กระทั่ง ฟาง ตามยุทธศาสตร์การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน
ส่วนการบริการอาหารและจัดเลี้ยงต่าง ๆ เราใช้อาหารที่ขึ้นชื่อในชุมชน ทั้งจากอําเภอเขื่องใน และจาก อําเภอต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ว่าจะเป็น ส้มตํา หมูยอ ก๋วยจับ มะพร้าวเผา เป็นแบบ “อีสานพาแลง”
ทั้งหมดนี้ ผมเชื่อว่าคงแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี ในการจัดการแข่งขันฯ ที่คํานึงถึงประโยชน์ของสังคม ชุมชน และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี