ดอกจาน..บานสะพรั่ง เป็นสัญญาณ ฤดูร้อนกำลังมา

ต้นไม้ในภาพคือ ต้นทองกวาว (Butea monosperma) หรือที่เรียกกันว่า “เปลวไฟแห่งป่า” (Flame of the Forest) เพราะดอกของมันมีสีส้มแดงสดใส มักบานในช่วงฤดูแล้ง และเป็นต้นไม้ที่พบได้ในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ชาวอีสานเรียกขานว่า " ดอกจาน " เท่าที่สังเกต ปีใหนหนาวจัด หนาวนาน ดอกจะบานสะพรั่งเต็มต้น เป็นสัญญานว่า หน้าร้อนเข้ามาเยือนแล้ว

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา เผยว่า ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 นี้เป็นต้นไป อากาศจะเริ่มมีความแปรปรวนมากขึ้น เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาล ลมเริ่มเปลี่ยนทิศทาง เช้าอากาศเย็น กลางวันอากาศร้อน บางวันเริ่มมีมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง ต้องติดตามและเฝ้าระวัง อันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และเตรียมพร้อมรับมือ

โดยคาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 17 - 24 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน และทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมทิศใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยเริ่มทางภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ช่วงนี้อุณหภูมิช่วงกลางวันอาจจะลดลงบ้าง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ขอให้ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร (เป็นฝนช่วงแรกๆของบริเวณไทยตอนบน หลังจากที่ไม่มีฝนตกมานาน) ส่วนพี่น้องชาวเรือ ชาวประมง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จากนั้นคาดการณ์สภาพาอากาศในช่วง 25-27 ก.พ.68 คาดว่าจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้ด้านหน้าของคลื่นกระแสลมนี้ มีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางพื้นที่อาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นได้ บริเวณประเทศไทยตอนบน โดยจะเริ่มมีผลกระทบทางภาคเหนือตอนบน (จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่) ก่อน สำหรับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก จะยังคงพัดปกคลุม ภาคเหนือตอนบน อีสานตอนบน 2-3 วัน ก่อนที่เคลื่อนผ่านไป ช่วงปลายเดือนฝนน้อยลง เช้าอากาศเย็น บ่ายอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น

Sticky